การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อาริสา เกรัมย์
วัชเรส สุระพล
เปล่งประกาย วันจันทึก
ภรัญโรจน์ ศิวรังสีรัชต์
สถาพร วิชัยรัมย์
ธิติ ศรีใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 คน รองประธาน จำนวน 1 คน คณะกรรมการ จำนวน 3 คน และสมาชิก จำนวน 5 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ใน 5 ด้าน คือ ด้านการผลิตด้านการตลาด ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการ ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์  ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการผลิต    ด้านการตลาด ด้านงบประมาณ และด้านบริหารจัดการ สมาชิกมีความชำนาญงานวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตในท้องถิ่นมีไม่เพียงพอจึงต้องมีการสั่งซื้อจากแหล่งผลิตภายนอกซึ้งมีราคาต้นทุนสูง ด้านการตลาดมีการออกขายสินค้าตามงานแสดงสินค้า ด้านงบประมาณมีการจัดทำบัญชีและมีการระดมทุนจากเหล่งเงินกู้ คือกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการด้านบริหารจัดการต้องการให้มีการให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการองค์กร ผลของการสัมภาษณ์ ประธาน คณะกรรมการ และสมาชิกในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์ ผลวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการที่ดี ด้านการผลิตต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ลวดลายให้ทันสมัย ด้านการตลาดกลุ่มสมาชิกต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยหาช่องทางการตลาดให้มากขึ้น ด้านงบประมาณต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแหล่งเงินกู้  ด้านบริหารจัดการต้องการให้มีการให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจ                                

Article Details

How to Cite
เกรัมย์ อ., สุระพล ว., วันจันทึก เ., ศิวรังสีรัชต์ ภ., วิชัยรัมย์ ส., & ศรีใหญ่ ธ. (2024). การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมสังคม, 1(02), 58–70. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/1104
บท
บทความวิจัย

References

พระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2562. (2562, 16 เมษายน).

ราชกิจนุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 34 - 35.

ภิชารัตน์ เพ็งหมื่นราช (2558).บทบาทของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชีววิถี ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาทรัพยากรชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

รจนา เตียวพานิชย์กิจ (2557).การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ/เสื้อผ้าใน จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัชต์พนิดา ปุริโส (2565).การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ บุรีรัมย์.

วรรณพงศ์ ช่วยรักษา (2560).แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน.กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อม ครามบ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.วิทยาลัย พาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนทรี ไชยะบุตร และคณะ (2556). โครงการการใช้ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าเพื่อเพิ่มรายได้ของกลุ่มทอผ้าบ้าน หนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ 2563. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2567. จาก https://shorturl.asia/Byeit

อนงนาฎ อุ่นเรือน (2566).การศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการจัดการของวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.