เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

Author Guidelines
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร
งานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25% โดยมีผลตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นตันไป

การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อได้รับการตีพิมพ์
การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/sskru-resarch เมื่อส่งเข้าระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทาง Email : surapong.baotong@gmail.com
เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก

การเตรียมต้นฉบับ
ต้นฉบับต้องมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์ในฉบับ เขียนต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษขนาด A4 ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้เป็นตัวอักษร TH SarabunPSK ตัวอักษรขนาด 16
ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านบน (TOP) 2.5 เซนติเมตร ขอบล่าง (bottom) 2.5 เซนติเมตร ขอบซ้าย (left) 3 เซนติเมตร ขอบขวา (right) 2.5 เซนติเมตร และควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้า (ใส่เลขหน้าทุกหน้า)

คำแนะนำ ในการเขียนบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง/บทความ (title) มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 18 ตัวหนา
2. ชื่อ/ที่อยู่ผู้เขียน (author name & affiliation) มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยระบุชื่อผู้เขียนพร้อมด้วยสถานที่ทำ งาน/หน่วยงาน และ e-mail ของแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้น เรียงตามลำดับความสำคัญ
3. บทคัดย่อ (abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ใช้ภาษาให้รัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ และควรจะกล่าววัตถุประสงค์ ข้อค้นพบและสรุปผลที่ได้จากงานวิจัยนั้น ๆ โดยให้เขียนเป็นความเรียง ไม่ควรมีคำย่อ ควรจะมีย่อหน้าเดียว โดยเขียนเป็นความเรียง ความยาวไม่เกิน 300 คำ
4. คำสำคัญ (keywords) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ
5. บทนำ (introduction) เป็นส่วนของความสำคัญที่นำ ไปสู่การวิจัย สรุปความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา การตรวจเอกสาร พร้อมวัตถุประสงค์ของการวิจัย และไม่ควรใส่ตารางหรือรูปภาพ
6. วิธีดำ เนินการวิจัย (materials and methods) อธิบายเครื่องมือ และวิธีดำ เนินการวิจัยให้กระชับและชัดเจน ให้บอกรายละเอียดสิ่งที่นำมาศึกษา จำ นวน ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา การสุ่มตัวอย่าง วิธีหรือมาตราที่ใช้ศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้
7. ผลการวิจัย (results) บรรยายสรุปผลการวิจัยอย่างกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำ ซ้าซ้อนซึ่งมีความหมายตรงกับคำอธิบายที่มีอยู่แล้วในตารางหรือรูปภาพประกอบ แต่ได้สาระครบถ้วน อยู่ด้านบน ในกรณีที่เป็นตาราง เพื่อให้ทราบว่าตารางนั้นสื่อถึงเนื้อหาเรื่องใด ส่วนภาพและแผนภูมิ ควรมีคำอธิบาย
อยู่ด้านล่าง การเรียงลำดับภาพ ตาราง หรือแผนภูมิ ควรเรียงลำดับเนื้อหาของงานวิจัย และต้องมีการแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์
8. อภิปราย (discussion) วิจารณ์ เปรียบเทียบกับผลการวิจัยที่มาก่อนหน้าอย่างมีหลักการอาจมีข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต และแนวทางที่จะนำ ไปใช้ประโยชน์
9. ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์และการใช้วิจัยในครั้งต่อไปวารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 121
10. เอกสารอ้างอิง (references) เรียงลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ และเรียงลำดับตามตัวอักษร ตามจำ นวนผู้เขียน กรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปี
12. ส่งไฟล์เอกสาร DOC หรือ PDF ได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/sskru-resarch และ E-mail: surapong.baotong@gmail.com

การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องของบทความวิจัย
การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องเป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่อง เริ่มต้นด้วย ชื่อผู้แต่ง แล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสารนั้น ถ้าเป็นเอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้เพียงนามสกุลนำ หน้า แล้วตามด้วย
ปีที่เผยแพร่เอกสาร ถ้ามีผู้แต่ง 2 คนให้ใส่ชื่อทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้ “&” แต่ถ้ามากกว่า 2 คน ให้ใช้ชื่อเฉพาะคนแรก แล้วตามด้วย “และคณะ” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ “etal..”
เช่น (อเนก และคณะ, 2548) หรือ อเนก และคณะ (2548) (Cauliflower & Flower, 2008) (Lerdau et al., 2012) หรือ Lerdau et al. (2012) กรณีที่เป็น ผู้แต่งคนเดียวกันให้ใช้อักษรกำกับ เช่น (Lopez rt al.,
2008a, b) แล้วแต่โครงสร้างประโยค การเรียงลำดับของเอกสารอ้างอิงให้เรียงตามปีที่พิมพ์ก่อน แล้วตามด้วยการเรียงลำดับตัวอักษร เช่น (Owen et al., 2003; Loreto et al., 2007; Monsoon et al., 2007)
เอกสารที่อยู่ระหว่างการตีพิมพ์ (in press) ในกรณีที่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์โดยวารสารนั้นแล้ว ใช้คำ ว่า in press และใส่ในรายการอ้างอิง เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (unpublished citation) ได้แก่
(abstract) รวมทั้งเอกสารที่เพิ่งจะส่งเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ (submitted) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (personal communication) การสังเกตโดยบุคคล (personal observation) ให้อ้างไว้ในเนื้อหาของ
บทความด้วย โดยระบุเป็น unpublished เช่น (Frost & Liang, unpublished; Norby, pers. Comm.; Fitter pers. obs.) แต่ไม่ต้องใส่ในรายการอ้างอิงเอกสารท้ายเล่ม
การอ้างอิงเอกสารท้ายเล่มให้อ้างอิงตามหลักเกณฑ์ระบบ APA (American Psychological Association)
1. การเขียนรายการอ้างอิงจากหนังสือชื่อ – สกุลผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ//(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์./สำ นักพิมพ์.เช่นกองชัย อภิวัฒน์รังสรรค์. (2523). บริษัทข้ามชาติ: โฉมหน้าใหม่จักพรรดินิยม (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.Stack, G., & Campbell, J. (Eds.)(2000). Engineering the human genome: An
exploration of the science and ethics of aiterign the genes we pass toour children. New York: Oxford University Press.