วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมสังคม https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal <p>วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมสังคม<br />กำหนดออก : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม<br />นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านสังคมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และนวัตกรรมสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> CLG_SSKRU (วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ) th-TH วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมสังคม การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายให้เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/457 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยเอกสารโดยจำกัดการศึกษาเฉพาะในปีงบประมาณ 2561 ผลการวิจัยพบว่า การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้เทศบาลเมืองศรีสะเกษ มี 2 รูปแบบ คือ (1) การจัดสรรงบประมาณในรูปของเงินอุดหนุนเพิ่มให้แก่เทศบาลเมืองศรีสะเกษโดยตรง ซึ่งจัดสรรในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ (2) การจัดสรรงบประมาณโดยการถ่ายโอนงาน/โครงการ/กิจกรรมจากส่วนกลางให้เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ดำเนินการเอง ส่วนแนวทางในการกระจายอำนาจให้แก่เทศบาลเมืองศรีสะเกษ กำหนดให้ไม่เกินปี พ.ศ.2561 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ในปี พ.ศ.2566 และเพื่อให้การดำเนินงานของเทศบาลเมืองศรีสะเกษเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการกำหนดแผนการดำเนินงานไว้ 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน (พ.ศ.2561) ระยะปานกลาง (พ.ศ.2562-พ.ศ.2564) และระยะยาว (พ.ศ.2565-พ.ศ.2570) โดยในปี พ.ศ.2561 สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณให้แก่เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ร้อยละ 100.12 ของเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และคิดเป็นร้อยละ 21.4 ของสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาล ซึ่งสำนักงบประมาณได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนองนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีการเบิกจ่ายจริงเพียงร้อยละ 64.78 จะเห็นได้ว่าเทศบาลเมืองศรีสะเกษนั้นยังมีการเบิกจ่ายอยู่ในระดับที่ต่ำโดยเฉพาะงบประมาณตามโครงการถ่ายโอนงาน/โครงการ/กิจกรรมทำให้เป็นปัญหาต่อการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ คือ (1) ปัญหาด้านการวางแผน (2) ปัญหาด้านงบประมาณ (3) ปัญหาด้านการจัดซื้อจัดจ้าง (4) ปัญหาด้านบุคลากร (5) ปัญหาด้านการถ่ายโอนภารกิจที่ราชการส่วนกลางให้เทศบาลเมืองศรีสะเกษ</p> <p>&nbsp;</p> ปณัยกร บุญกอบ Copyright (c) 2024 ปณัยกร บุญกอบ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 1 01 1 1 กระบวนการเสริมสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพในชุมชนเพื่อพึ่งตนเอง https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/715 <p>การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันกลุ่มเกษตรรักบ้านเกิด ตําบลด่านอําเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษากิจกรรมในการสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อพึ่งตนเอง การวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ 15 ราย สนทนากลุ่ม 1<strong>0</strong> ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักตรรกะเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีควบคู่กับบริบท และใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบ</p> sathian seehuen Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 1 01 14 14 ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษาตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/667 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชน ในเขตตำบลเสิงสาง 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชน ในเขตตำบลเสิงสาง 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตตำบลเสิงสาง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตตำบลเสิงสาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มประชากร ในตำบลเสิงสาง จำนวน 360 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณเข้าสู่กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อที่ให้ได้ข้อมูลในลักษณะที่มีเนื้อหาสาระเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>กลุ่มประชากรในเขตตำบลเสิงสาง มีความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษาตำบลเสิงสาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก <strong>(</strong> <img title="\overline{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{\chi&amp;space;}" /><strong>= 3.63 ) </strong>เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริบท <strong>( <img title="\overline{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{\chi&amp;space;}" /></strong> <strong> = 3.87 ) </strong>รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า<strong> ( <img title="\overline{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{\chi&amp;space;}" /></strong> <strong> = 3.68 ) </strong>ด้านกระบวนการ<strong> (<img title="\overline{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{\chi&amp;space;}" /> </strong> <strong> = 3.56 ) </strong>ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผลลัพธ์<strong> ( <img title="\overline{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{\chi&amp;space;}" /></strong> <strong> = 3.42 )</strong> ตามลำดับ แนวทางการรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ละชุมชนนั้นต่างก็มีบริบทของชุมชนที่แตกต่างกันบางชุมชนไม่มีร้านค้าที่สามารถใช้สิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้</p> ชนม์ณิชา ธรรมธุระ Copyright (c) 2024 กวีเทพ เทียมศักดิ์,เขมทัต พื้นบน, ศตายุ ฤทธิ์เดช และ สถาพร วิชัยรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 1 01 26 35 ประสิทธิผลการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/640 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการพัฒนาชุมชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลไสยไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จำนวน 639 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเมื่อพบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย มีการพัฒนาชุมชนด้วยศาสตร์ด้านสาธารณสุข ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และด้านเศรษฐกิจสังคมและชุมชน 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และระยะเวลาการเป็นกรรมการหมู่บ้านต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน</p> Duaenpen Chamnankit Copyright (c) 2024 เดือนเพ็ญ ชำนาญกิจ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 1 01 36 46 A ความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/665 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพของผู้ใช้บริการในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของผู้ใช้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในด้านต่างๆในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง 3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำมาพัฒนาปรับปรุงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน&nbsp;&nbsp;&nbsp; 335 คน การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในเขตเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตาม เพศ โดยวิเคราะห์ค่า t-test Independent กำหนดค่าสถิติระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ระดับความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในระดับมากและ ด้านการรักษาและส่งต่อของสิทธิบัตรทอง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุในความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ได้แก่ ควรส่งเสริมช่วยเหลือด้านการรักษา ให้เพียงพอเเละมีความรวดเร็วต่อการใช้บริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุ และดูแลความเป็นอยู่ให้ ผู้สูงอายุ&nbsp;&nbsp; มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยให้ค่าตอบแทนพิเศษและสวัสดิการแก่บุคลากรที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ ผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การร่วมกลุ่มด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการประกอบอาชีพหรือรายได้เสริม ด้านกิจกรรมทางสังคม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพื่อกระตุ้นการสร้างความมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามนโยบายของภาครัฐ</p> RATANON BOONKONG Copyright (c) 2024 ส.อ.วชิรพันธุ์ ปานแก้ว, ส.อ.รฐนนท์ บุญคง, พิทวัส ปัตเตย์ และธนพัฒน์ จงมีสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 1 01 47 57 ความพึงพอใจในการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/666 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1<strong>)</strong>. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุในการรับเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2<strong>)</strong>. เพื่อเปรียบเทียบต่อปัจจัยส่วนบุคคลต่อการให้บริการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง และ<strong>3</strong>)<strong>. </strong>เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อประสิทธิภาพของระบบและการบริการจ่ายเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่&nbsp; ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง จำนวน 264 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยเชิงปริมาณโดยวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจเพื่อที่ให้ได้ข้อมูลในลักษณะที่มีเนื้อหาสาระสำคัญ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า <strong>1</strong>) ผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง มีระดับความพึงพอใจในการรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพมีค่าเฉลี่ยมากสุด ( &nbsp;= 4.28) รองลงมา คือ ด้านการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ ( &nbsp;= 4.24) รองลงมา คือ ด้านความมั่นคงปลอดภัย ( &nbsp;= 4.19) ส่วนด้านการสำรวจผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( &nbsp;= 4.13) ตามลำดับ <strong>2</strong>) แนวทางการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง พบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากต้องการได้รับเบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมีความจำเป็นในการใช้จ่าย และผู้สูงอายุทำงานได้น้อยลง ทำให้เบี้ยยังชีพที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน ผู้สูงอายุบางรายไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการอย่างทั่วถึง จึงควรมีการพัฒนาโครงสร้างการเข้าถึงสวัสดิการให้มีความเป็นมาตราฐานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสวัสดิการได้ง่ายขึ้น</p> นภาวรรณ พรมสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วนวัชร์ แป่มจำนัก, วิทยา หนูนา, ญาณิศา พื้นทะเล และสากล พรหมสถิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 1 01 58 71