การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการปัญหายาเสพติด ของชุมชนตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมต่อการจัดการปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัย การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการปัญหายาเสพติดในตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการปัญหายาเสพติดใน ตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้นำชุมชนและประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานประกอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลาง โดยการมีส่วนร่วมในการรับข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.46) และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 2.58) ระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนมีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.70) ขณะที่การสนับสนุนจากภาครัฐและองค์กรอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.17) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการปัญหายาเสพติดมีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ โดยเมื่อปัจจัยการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น ระดับการมีส่วนร่วมจะสูงขึ้นเช่นกัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงโดยปัจจัยทั้ง 5 ด้านนี้สามารถพยากรณ์ระดับการมีส่วนร่วมได้ถึงร้อยละ 81.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณทิวา มุณีแนม. (2561). แนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. https://kb.psu.ac.th.
จุติพร มาเพิ่มผล (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การ บริหารส่วนตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (งานนิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). https://digital_collect.lib.buu.ac.th.
ณัฐพล แหลมทองหลาง และคณะ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารสหวิทยาการวิจัยและ วิชาการ, 3(1). https://so03.tci-thaijo.org/index.php/IARJ/article/view/266059/176754.
ธนจิรา พวงผกา. (2559). ปัจจัยที่มีผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ของเทศบาลตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). http://ethesisarchive.library.tu.ac.th.
ธราธร เฟื่องนิภาภรณ์. (2562). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่
อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม). http://www.dspace.spu.ac.th.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ:
Print, 2546
ประชุม สุวัติถี (2551), การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
เรณุมาศ รักษาแก้ว. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชน. สถาบันพระปกเกล้า.
การมีส่วนร่วมของประชาชน - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า.
วันชนะ ดวงจันทร์ทิพย์ และคณะ. (2566). บทบาทของผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผล ต่อสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. 4(1),271. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2101/2247.
ศักดิ์ หมู่ธิมา และ บุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2561). การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหา
ยาเสพติดในกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษาเขตสวนหลวง.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2),11-25. https://so02.tci- thaijo.org/index.php/journaldru/ article/view/253365/170213
ศุภิสรา ธารประเสริฐ.(2563). ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของกํานัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถาบันพระปกเกล้า. (2559). การมีส่วนร่วม.สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2567. http://wiki.kpi.ac.th.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 183. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/179213/128700.
สาธิต บัวขาว และคณะ. (2567). การมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรม, 3(1), 1.
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/251793/178971.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน. ( 7 พฤษภาคม 2558 ). สภาพ และข้อมูลพื้นฐาน.องค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองบอน. https://nongborn.go.th/index.php/information-base.
Arnstien, S.R. (1969). A Ladder of Citizen Participation.Journal of the American Institue of Planners,35(4). https://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog- post_79.html?m=1
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press. https://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog- post_79.html?m=1
Huntington, S. & Nelson, S. (1975). No easy choice: political participation in developing countries. New York : Harvard University Press.