ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาอย่างง่าย โดยการเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

เอกพงษ์ โสภณพลศาล
วัชรากร ทองช่วย
ทรงวิทย์ ฤทธิกัณฑ์

บทคัดย่อ

ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาอย่างง่าย โดยการเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการประเมินทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้นักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาอย่างง่าย โดยการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดควนวิเศษ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยเรียนแบบผสมผสาน 3) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา 4) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่า t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 8.75 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 43.75) และหลังเรียนเท่ากับ 16.38 (คิดเป็นร้อยละ 81.90) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการเรียนแบบผสมผสาน ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ของนักเรียนได้จากการเรียนรู้โดยชุดการเรียนรู้ โดยการเรียนแบบผสมผสาน

Article Details

How to Cite
โสภณพลศาล เ., ทองช่วย ว., & ฤทธิกัณฑ์ ท. (2025). ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาอย่างง่าย โดยการเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 4(1), e1784 . สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/1784
บท
บทความวิจัย

References

Charoenwongsak, K. (2007, November 26). Problem-solving skills: Essential matters for Thai children. kriengsak.com. https://www.kriengsak.com/node/1006 (in Thai)

Huaysai, T., Klangpraphan, M., & Palajit, S. (2018). The development of a virtual classroom using blended learning combined with the 7-step learning cycle and graphic organizers affecting systems thinking, creative thinking, and learning achievement on the topic of computer-based work creation for Grade 6 students. Journal of Curriculum and Instruction, Sakon Nakhon Rajabhat University, 10(29), 45–53. retrieved from https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=9 (in Thai)

Khamsri, R., Pariput, P., & Tongchalerm, K. (2023). The Development of Blended Learning Activity Package to Promote Mathematical Literacy for Grade 7 Students. Education journal Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University, 6(1), 139–152. retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/258971 (in Thai)

Ministry of Education. (2017). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) and Learning Standards and Indicators (Revised Edition B.E. 2560 / A.D. 2017). Ministry of Education. http://academic.obec.go.th/web/news/view/75 (in Thai)

Prasertsung, P. (2020). Development of learning model to promote creative problem solving thinking of students under the Office of the Basic Education Commission in the Northeastern region using STEM education activities. Journal of Education, Mahasarakham University, 14(3), 83-93. (in Thai)

Puangkaew, D., & Banjong, W. (2017). Development of Science Learning Package for the Learning Unit of Cells for Mattayomsuksa 1 Students. Eau Heritage Journal Social Science and Humanities, 7(2), 358-367. retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/89575 (in Thai)

Ritcharoon, P. (2014). Principles of educational measurement and evaluation (9th ed.). Bangkok: House of Kermist. (in Thai)

Rukbumrung, T. (2012). Blended learning: Integrated learning approach. Journal of Education Rajabhat Mahasarakham University, 9(1), 31–40. (in Thai)

Sri-iam, S. (2024). Development Of A Blended Learning Activity Set In Conjunction With Active Learning On Word Types For Grade 6 Students In Pathum Thani Province. Valaya Alongkorn Review Journal, 14(2), 27–41. retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/271166 (in Thai)

Tantijarukorn, S. (2017). The development of a set of learning activities on basic science process skills about life and the environment for Prathomsuksa 6 students (master’s thesis). Pathumthani: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. (in Thai)

Yodsamerong, P. (2017). The effects of using a learning activity package on the human and animal body systems using knowledge construction approach for Matthayomsuksa 2 students (master’s thesis). Buriram: Buriram Rajabhat University. (in Thai)