วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU
<p> </p> <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช</strong></p> <p> </p> <p><strong>ISSN :</strong> 2821-9465 (Print)</p> <p><strong>ISSN:</strong> 3027-8155 (Online) </p> <p> </p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong><strong> :</strong> ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์</strong> <strong>:</strong> วารสารฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ และงานวิจัยทางด้านครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของคณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงผู้สนใจทั่วไป และเพื่อเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ประสบการณ์ และผลงานวิจัยของบุคลากรในสถาบันการศึกษา</p> <p> </p> <p><strong>รูปแบบการเผยแพร่บทความเป็น </strong><strong>2 รูปแบบ : </strong>รูปแบบการตีพิมพ์ (Print), รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) </p> <p> </p> <p><strong>สาขาของบทความ : </strong>การศึกษา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทบทความ : </strong>ตีพิมพ์ ฉบับละ 10-13 บทความ</p> <p> บทความทางวิชาการ 2-3 บทความ / ฉบับ</p> <p> บทความวิจัย 8-10 บทความ / ฉบับ</p>
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (Faculty Of Education of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University)
th-TH
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2821-9465
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช</p>
-
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมัยใหม่
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/599
<p>รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมัยใหม่ คือ การผสมผสานการจัดการเรียนรู้โดยการนำกรอบทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบการจัดการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ซึ่งจะต้องรวบรวมองค์ความรู้ในเนื้อหาวิชามาบูรณาการกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่พบเจอในสถานศึกษาที่ได้ปฏิบัติงาน นักศึกษาจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีรอบตัว (T) ร่วมกับการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (A) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาออกแบบการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยตามเนื้อหา (C) ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ให้มีความสอดคล้องกับวัย พัฒนาการ (L) และบริบท (X) ของสถานศึกษาที่ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ให้การออกแบบการณ์จัดประสบการณ์นั้น นักศึกษาจึงควรมีทักษะในการวิจัย (R) ที่เป็นพื้นฐานของการสังเกตพัฒนาการซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมพัฒนาการ ทำให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังการเป็นครูมืออาชีพที่มีสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู</p>
สุชาดา จิตกล้า
ประกอบ ใจมั่น
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
3 1
e0599
e0599
-
การพัฒนาครูสู่นวัตกรการสอนอย่างมืออาชีพในยุคดิจิทัล
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/692
<p>ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ครูจำเป็นต้องพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย การสร้างครูให้เป็นนวัตกรการสอนอย่างมืออาชีพจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ในห้องเรียน การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีส่วนร่วม รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและเอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งจากบทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการการพัฒนาครูสู่การเป็นนวัตกรการสอนอย่างมืออาชีพในยุคดิจิทัล ตามแนวคิดแบบจำลอง ADDIE ภายใต้รูปแบบ K-R-U-P-R-O-5G (6 ขั้นตอน) ได้แก่ 1. ความรู้ 2. การสะท้อนคิด 3. ความเข้าใจ 4. การปฏิบัติ 5. การปรับปรุงแก้ไข 6. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณลักษณะครูยุคใหม่รูปแบบ 5G โดยการพัฒนาครูให้เป็นนวัตกรการสอนอย่างมืออาชีพในยุคดิจิทัลจะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่โดดเด่น ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีศักยภาพในการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัลได้</p>
วรพล ศรีเทพ
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-24
2024-05-24
3 1
e0692
e0692
-
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/591
<p>การวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาอุปสรรค 2) เพื่อเปรียบเทียบ และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป จำนวน 100 คน ใช้วิธีการเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผลและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ ANOVA ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1. ผลการศึกษาสถานการณ์และปัญหาอุปสรรคของประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคมใน พบว่า 1) ด้านการให้บริการ สถานที่มีความคับแคบจึงทำให้การบริการของเจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการได้ดีเท่าที่ควร และเจ้าหน้าที่มีน้อยการให้บริการจึงไม่เต็มที่ 2) ด้านกระบวนการทำงาน ในการจัดทำใบรับรอง ต้องใช้บุคลากรในการจัดพิมพ์ อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาด ส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยีไม่ทันสมัยจึงทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า และ3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากห้องทำงานมีพื้นที่จำกัดไม่สามารถอำนวยความสะดวกได้เต็มที่</p> <p>2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล จำแนกตามเพศ อายุ และสถานภาพของผู้มารับบริการ พบว่า 1) ผู้มารับบริการที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผลไม่แตกต่างกัน 2) ผู้มารับบริการที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของการใช้งานระบบทะเบียนและวัดผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ3) สถานภาพผู้มารับบริการที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของการใช้งานระบบทะเบียนและวัดผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>3. ผู้มารับบริหารมีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
สุทธิดา เกลี้ยงแก้ว
กิตติรัตน์ เกษตรสุนทร
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-15
2024-05-15
3 1
e0591
e0591
-
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/593
<p>การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบ EPSPE Model การจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดนากุน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัย</p> <p>1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสาร และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.10/82.30</p> <p>2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 4.45 , S.D. = 0.58)</p>
บัณฑิตา ชูปู
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-15
2024-05-15
3 1
e0593
e0593
-
การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับ Google classroom เรื่อง การสร้างสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลสไลด์ ที่ส่งเสริมทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/710
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ Google Classroom 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ Google Classroom การวิจัยนี้ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยสุ่มห้องเรียนได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Google Classroom สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนเพิ่มขึ้นหลังการเรียนรู้ โดยทักษะการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.47 ทักษะการสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.88 ทักษะความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.76 และทักษะการเข้าถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.18 2) คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้เท่ากับ 13.15อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroomอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.43, S.D. = 0.78)</p>
ภาคภูมิ สังข์ช่วย
ธณัฐชา รัตนพันธ์
จิราภรณ์ เหมพันธ์
กุสุมา ใจสบาย
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-30
2024-05-30
3 1
e0710
e0710
-
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/752
<p>ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศรษฐกิจชุมชน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจชุมชน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล เริ่มจากการทดสอบก่อนการทดลอง ดำเนินการจัดการเรียนรู้ ทดสอบหลังการทดลอง ประเมินความพึงพอใจ และประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ t – test dependent วิเคราะห์ผลการประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจขอนักเรียน โดยหาค่าเฉลี่ย ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาเรื่องเศรษฐกิจชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี และ3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ธนาธิป รัตนพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-11
2024-06-11
3 1
e0752
e0752
-
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/802
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากสถานศึกษา 88 แห่ง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 264 คน ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (1) สร้างและพัฒนารูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบรูปแบบ (2) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินรูปแบบ ด้านความถูกต้อง เหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.22, S.D.=0.75) และการปฏิบัติงานสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.23, S.D.=0.69) องค์ประกอบของรูปแบบ (1) องค์ประกอบเสริมสร้างความเป็นเลิศ 7 องค์ประกอบหลัก และ 8 องค์ประกอบสนับสนุน (2) องค์ประกอบยกระดับพัฒนา 6 องค์ประกอบหลัก และ 9 องค์ประกอบสนับสนุน 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ส่วน (1) ส่วนนำ (ชื่อรูปแบบ แนวคิด/หลักการ จุดมุ่งหมาย กลยุทธ์/ แนวทางการพัฒนา เป้าหมาย) (2)ตัวแบบ/ลักษณะรูปแบบ (3) ขั้นตอนการนำรูปแบบไปใช้ (4) ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบ มีความถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 100 ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 97.22</p>
สุดคนึง อาจชอบการ
พัทธนันท์ นิลพัฒน์
สุเมตตา คงสง
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
3 1
e0802
e0802
-
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาและการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสถานการณ์จำลองและแอพพลิเคชั่น TikTok เรื่อง หน้าที่ของเยาวชนต่อสังคมและประเทศชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโยธินบำรุง
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/836
<p>การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาและการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสถานการณ์จำลองและแอพพลิเคชั่น TikTok เรื่อง หน้าที่ของเยาวชนต่อสังคมและประเทศชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโยธินบำรุง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองและแอพพลิเคชั่น TikTok 2) ศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองและแอพพลิเคชั่น TikTok และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองและแอพพลิเคชั่น TikTok กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโยธินบำรุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และ t-test Dependent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมี 1) ผลการเรียนรู้หลังเรียน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 12.42, S.D. = 0.74) สูงกว่าก่อนเรียน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 7.50, S.D. = 1.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการคิดวิเคราะห์ คะแนนเฉลี่ย 3.95 อยู่ในระดับดี และ 3) ผลความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ย 4.25 อยู่ในระดับมากที่สุด </p>
ตะวัน ไชยจิตต์
แก้วใจ สุวรรณเวช
พชรกมล บุญฤทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
3 1
e0836
e0836
-
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot เรื่อง ปัจจัยสำคัญ ที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/842
<p>การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot 2)ประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2566 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก</p>
ณัฐิวุฒิ บำรุง
แก้วใจ สุวรรณเวช
รัชนี แนวจำปา
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
3 1
e0842
e0842
-
ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) โดยใช้กิจกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Gap) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/780
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังเรียน (One Group pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยใช้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Gap) และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยใช้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Gap) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวนนักเรียน 33 คน ที่กำลังเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยใช้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Gap) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยใช้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Gap) สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยใช้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Gap) อยู่ในระดับมาก</p>
กิรติ สิทธิรักษ์
อนิรุธ ชุมสวัสดิ์
สุวัฒน์ มะเดข
อรดา โอภาสรัตนากร
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-13
2024-08-13
3 1
e0780
e0780
-
สาส์นจากบรรณาธิการ
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/598
นพรัตน์ ชัยเรือง
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-15
2024-05-15
3 1