การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot เรื่อง ปัจจัยสำคัญ ที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot 2)ประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2566 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPs ผสานแอปพลิเคชัน Kahoot สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
Dechakupt, P and Yindeesuk, P. (2015). Learning to Learn 21. (2nd printing) Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Duangrawa, C. (2017). The Development of Learning Activity by Using 5 STEPs about Sufficiency Economy story in Learning Area of Social Studies, Religion and Culture with Students' Prathomsueksa 4. [Unpublished doctoral dissertation]. Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University. Retrieved from https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2560/123161/Duangrawa%20Chayanis.pdf (in Thai)
Kaewphuong, P. (2020). Science of Social Studies Learning Management. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Likert, R. (1987). New patterns of management. Garland Science.
Ministry of Education. (2019). National Education Act B.E 2542. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)
Punyawarat, S. (2023, 11 September). Development of a 5-step learning management process (5 STEPs) that has an effect on academic achievement and analytical thinking ability on the subject of duties, citizenship, culture and living in society. Of Primary 6 School (Wat Kaew Phichit). APINLOVEREAL.COM. Retrieved from https://shorturl.asia/UM5zT (in Thai)
Sriwichai, S. and Rittikoop, W. (2021). The 5-Step Learning Process for the Phayaphiphak Forest Park History Subject Empowering Critical Thinking Skills and Learning Outcome of Matthayomsuksa 1 Students at Khuntan Wittayakom School. Graduate school journal Chiang Rai Rajabhat University, 14(1),43-58. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/245007/167110 (in Thai)