ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา

Main Article Content

ธนาธิป รัตนพันธ์

บทคัดย่อ

ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศรษฐกิจชุมชน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจชุมชน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล เริ่มจากการทดสอบก่อนการทดลอง ดำเนินการจัดการเรียนรู้ ทดสอบหลังการทดลอง ประเมินความพึงพอใจ และประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ t – test dependent วิเคราะห์ผลการประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจขอนักเรียน โดยหาค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมาย


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาเรื่องเศรษฐกิจชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี และ3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Jensantikul, N. (2021). Community-Based Learning Process : Reflections on Experience and Learning. Journal of Humanities and Social Sciences Mahamakut Buddhist University Isan Campus, 2(3), 78–85. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jhsmbuisc/article/view/253640 (in Thai)

Likert, R. (1987). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Ministry of Education. (2023). Announcement of the Ministry of Education on Educational Policy of the Ministry of Education. Fiscal year 2024 – 2025. Bangkok. (in Thai)

Nandilok, P. (2021). Development of community-based learning activities on living a self-sufficient life. Grade 4 (Thesis for the Master of Education degree). Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University. (in Thai)

Office of the Secretariat of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017 – 2036. Bangkok: Phrikwan Graphics. (in Thai)

Phinla, W., & Phinla, W. (2023). Classroom of Social Studies Teacher with Learning Management using Community-Based Learning. Journal of Education Thaksin University, 23(2), 1–12. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v23i2.259549 (in Thai)

Sinhachotsukkapat, R. (2020). Development of a virtual outdoor learning model combined with community-based learning management. To promote a sense of commitment to citizenship among high school students (Thesis for the Master of Education degree). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)