การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับ Google classroom เรื่อง การสร้างสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลสไลด์ ที่ส่งเสริมทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

Main Article Content

ภาคภูมิ สังข์ช่วย
ธณัฐชา รัตนพันธ์
จิราภรณ์ เหมพันธ์
กุสุมา ใจสบาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ Google Classroom 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ Google Classroom การวิจัยนี้ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยสุ่มห้องเรียนได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)  และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Google Classroom สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนเพิ่มขึ้นหลังการเรียนรู้ โดยทักษะการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.47 ทักษะการสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.88 ทักษะความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.76 และทักษะการเข้าถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.182) คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้เท่ากับ 13.15 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroom อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (equation= 4.43, S.D. = 0.78)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jobsdb. (2023, 07 July). Digital Literacy: How important are digital literacy skills to our organization. Jobsdb. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/digital-literacy (in Thai)

Ministry of Education. (2019). Act National Education (No. 4) 2019. https://www.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/01/MOE-Authority.pdf (in Thai)

Nillapun, M. (2014). Educational research methods (8 th ed.). Nakhon Pathom: Silpakorn University. (in Thai)

Seng, R. & Loyapha, R. & Buenae, S. & Lemaeng, A. & Phadung, M. (2022). The Development of an Educational Application to Enhance Digital Literacy Skills for Grade 1 Elementary School Students. The 7th Nation Science and Technology Conference | NSCIC 2022. (p. 1088 - 1095). Retrieved from https://citly.me/t0cwM (in Thai)

Somabut, A. (2013, 25 September). Constructivist Theory. WordPress.com. https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory/ (in Thai)

Srichalard, P. & Promchana, A. (2020). Thai Thai: English. Journal of Inclusive and Innovative Education, 4(3), 82–92. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/240616 (in Thai)

Sukkhai, L. & Photivechukul, S. & Phannak, R. (2022). Develop Lessons With Google Classroom On The Pan Din Tin Rak Chaiyaphum For Students In Grade 1. Journal of MCU Ubon Review, 7(2), 2211-2222. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/258550/173920 (in Thai)