การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

บัณฑิตา ชูปู

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบ EPSPE Model การจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ EPSPE Model  ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดนากุน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัย


1.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสาร และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.10/82.30


2.  คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3.  ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ EPSPE Model ร่วมกับการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.45 , S.D. = 0.58)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Best, J. W. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Chuesuwanthawee, C. (2013). Development of mathematics teaching models to promote higher-order thinking abilities. Silpakorn Educational Research Journal, 5(2), 100 – 112.

Gagne, R. M. (1985). The Conditions of Learning. New York : Holt Rinehart and Winston.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Models of teaching. New Jersey : Prentice – Hall.

Kulnathsiri, P. (2000). “Movements regarding NCTM: principles and standards for school mathematics in the year 2000”. IPST Journal. 28(108), 21. (in thai)

Mahavijit, P. (2007). Activities to Enrich Mathematical Process/ skills Concerning Numbers and Operations and Geometry. Mathematics journal. 52 (587-589), 47-55. (in thai)

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Ministry of Education.

Niranthawee, S., & Phumman, P. (1999). The 4 MAT learning cycle: Organizing the learning process to promote smart, good, and happy characteristics. 2nd printing. Nonthaburi: SR Printing. (in Thai)

Sayan, P. (2009). Report on the use of the mathematics process skills development model. For Grade 5 students at Thairath Wittaya School 78 (Wat Samakkhi Chai), Chumphon Province. (reproduce). (in Thai)

Srisa – ard, B. (2002). Research for teachers. Bangkok: Suweerivasarn. (in Thai)

Suratrueangchai, W. (2006). Course documents 404361 General teaching methods (General Method of Teaching). Chonburi :Department of Curriculum and Instruction Faculty of Education, Burapha University. (in Thai)

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology [IPST.]. (2007). Mathematics learning management manual. Bangkok: Teachers' Council of Ladprao. (in Thai)

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology [IPST.]. (2017). Indicators and core learning content Mathematics learning group (Revised edition 2017) according to the Basic Education Core Curriculum, 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited Printing Press. (in Thai)

Watnakun School. (2022) Self Assessment Report of Watnakun School academic year 2022. Watnakun School. (in Thai)