แนวทางการจัดทำคำของบประมาณในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบจัดการด้านการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบงานด้านงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล การสร้างระเบียบวินัยทางการคลังด้วยกรอบการทำงานของธรรมาภิบาลทางด้านการคลัง (Good Fiscal Governance) และเน้นการกระจายอำนาจทางการคลัง (Fiscal Decentralization) เพื่อทำให้ประชาสังคมและประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด หรือสร้างประชารัฐ (Civil State) โดยเน้นที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
การวิจัยครั้งนี้พัฒนาขึ้นตามวิธีการทางด้านระเบียบกระบวนการทางด้านงบประมาณ (Budgeting Cycle) ลำดับขั้นตอนวัฎจักรการพัฒนาระบบเริ่มจากการเก็บข้อมูลความต้องการของผู้ใช้ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง อีกทั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและการคลังในการประสานการทำงานอย่างเป็นองค์รวมและบูรณาการทั้งผู้อำนวยการคลังจังหวัด หัวหน้าส่วนงานกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบกับการสัมภาษณ์ทางด้านวิชาการเกี่ยวกับองค์ความรู้และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Information) ของผู้ใช้เอกสารงบประมาณโดยการศึกษาจากเอกสารคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ บุคลากร การออกแบบระบบได้ใช้วิธีการจากสำนักงบประมาณ
ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ระบบการบริหารการจัดการทางด้านการเงินและการคลัง ด้านงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษซึ่งทำงานภายใต้ระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จังหวัดศรีสะเกษโดยมีการทำงานภายใต้ระบบเครือข่ายของฐานข้อมูลทางการคลัง (GFMIS: Government Fiscal Management Information System) และมีระบบรองรับของจังหวัดคือ Client Server Back-up ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลด้านการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินและสามารถนำเสนอสารสนเทศด้านการใช้จ่ายเงินงบประมาณผู้บริหารของจังหวัดศรีสะเกษ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วีระ รอดชีวัน.(2521). “การคลังขององค์กรท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีการคลังเทศบาล”. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิสูตร จำพานิชย์.(2542). การกระจายอำนาจการคลังสู่เทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีระวัฒน์ วงศ์ว่องไว.(2536). การกระจายอำนาจทางด้านการคลังสู่ท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีสภาตำบล. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิริรัตน์ สังข์สุวรรณ.(2536). “การบริหารงบประมาณด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร: ศึกษากรณีงบประมาณรายจ่ายประเภทค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง”. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.(2531). “ปัญหาการคลังรัฐบาลท้องถิ่นของไทย: กรณีศึกษาว่าด้วยเทศบาล”. วารสาร เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 6, 4 (ธันวาคม 2531): 167-168.
Alderfer, Harold F.(1964). Local Government in Developing Countries. New York: Mc Graw-Hill, Bangkok.
Chamber’s.(1967). Encyclopedia. 8th ed. London: Pergamum.
Wildavsky, A. B.(1964). The Politics of Budgetary Process. Boston: Little Brown.
Wit, Danial.(1958). A Comparative Survey for Local Government and Administration. Bangkok: Institution of Public Administration.