สิทธิคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ศึกษากรณีคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ม จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพและปัญหาของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ม 2. ศึกษาสิทธิทางอาชีพของคนพิการได้รับตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับคนพิการ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ม และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ
ผลการวิจัยพบว่าคนพิการในตำบลทุ่มจะต้องมีลักษณะความพิการ คือต้องเป็นคนพิการที่มีความพิการเชิงประจักษ์ หรือต้องเป็นคนพิการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ประกาศกำหนดประเภทความพิการที่มีลักษณะ 7 ประเภท เพื่อให้ได้รับบัตรคนพิการ สามารถมีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ คนพิการสามารถได้รับการฝึกงานจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตำบลทุ่ม ให้ได้รับการฝึกงานประเภทจักสาน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เพื่อให้สามารถไปประกอบการสามารถหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
คนพิการในตำบลทุ่มได้รับบัตรคนพิการ ซึ่งทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย คนพิการในตำบลทุ่มไม่มีผู้ใดทำงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่มได้จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับคนพิการ และคนพิการยังสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมาทำประกอบกิจการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิ่งกาญจน์ หงษ์ร่อน. (2550). คุณลักษณะภายในของคนพิการที่เอื้อต่อการประสบความสำเร็จในการ
ประกอบอาชีพอิสระ. วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ).
นครปฐม :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
กิติพงศ์ สุทธิ. (2543). การดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมการจัดหางาน กองพัมนาระบบบริหารจัดหางาน. คู่มือการให้บริการตามมาตรา 33 และมาตรา
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัมนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. กรุงเทพ : 2561.
จิราวัลย์ คงถาวร. (2547). ความเป็นไปได้ในการจ้างงานคนพิการของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
(ประเทศไทย). วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลลดา ชนะศรีรัตนกุล. (2548). การเตรียมความพร้อมผู้พิการก่อนประกอบอาชีพ. วิทยานิพนธ์
พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทวี เชื้อสุวรรณทวี. (2552). มองความพิการผ่านแนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนา
เพรส จำกัด.
รัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
เลขาธิการวุฒิสภา, 2560.
ประกาศ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ,
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 129 ตอนพิเศษ 119 ง ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2555.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 , มาตรา 4 ราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 124 ตอนที่ 61 ก (27 กันยายน 2550) : หน้า 9
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ราชกิจจานุเบกษา,
เล่ม 130 ตอนที่ 30 ก. ลงวันที่ 29 มีนาคม 2556.
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ, คนพิการถูกเลือกปฏิบัติ,
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนพิเศษ 182 ง ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2556
รศ. พญ. (2554) อภิชนา โฆวินทะ, กฎหมายเพื่อพิการไทย : รู้แล้วได้อะไร, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์. (2544). แนวทางการส่งเสริมอาชีพคนพิการ. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัย
หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
สุรีรัตน์ โลหะขจรพันธ์. (2547). การประกอบอาชีพอิสระของคนพิการที่กู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการนครนายก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. คู่มือสิทธิของคนพิการ. 2554
อลิศรา ตะวังทัน. (2554). ทัศนะต่อแรงจูงใจในการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ
:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.