ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษาตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษาตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชนม์ณิชา ธรรมธุระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชน ในเขตตำบลเสิงสาง 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชน ในเขตตำบลเสิงสาง 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตตำบลเสิงสาง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตตำบลเสิงสาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  กลุ่มประชากร ในตำบลเสิงสาง จำนวน 360 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณเข้าสู่กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อที่ให้ได้ข้อมูลในลักษณะที่มีเนื้อหาสาระเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า


กลุ่มประชากรในเขตตำบลเสิงสาง มีความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษาตำบลเสิงสาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\overline{\chi&space;}= 3.63 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริบท ( gif.latex?\overline{\chi&space;}  = 3.87 ) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ( gif.latex?\overline{\chi&space;}  = 3.68 ) ด้านกระบวนการ (gif.latex?\overline{\chi&space;}  = 3.56 ) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผลลัพธ์ ( gif.latex?\overline{\chi&space;}  = 3.42 ) ตามลำดับ แนวทางการรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ละชุมชนนั้นต่างก็มีบริบทของชุมชนที่แตกต่างกันบางชุมชนไม่มีร้านค้าที่สามารถใช้สิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤช เอื้อวงศ์. (2562). บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทย : กรณีศึกษา

จังหวัดเพชรบุรี. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯจาก https://kpilib.com/library/en/books/kpibook-27489/

TODAY. (2566). ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ ส่อมีปัญหา รอบสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์ 40% (8 ล้านคน).

สืบค้น 10 ตุลาคม 2566, จาก https://workpointtoday.com/news-359/

รวัญญู อุทัย. (2561). การศึกษาความคาดหวังและคุณค่าความพึงพอใจในผลลัพธ์ต่อโครงการบัตร

สวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ

file:///C:/Users/Sky/Downloads).pdf

ดาวสวรรค์ รื่นรมย์. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและ

มัคคุเทศก์ สาขาภาคเหนือ เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. เชียงใหม่ จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream.pdf

กรรณิการ์ รุจิวรโชติ. (2563). การศึกษาความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ ณ

ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ จาก https://hss.moph.go.th.pdf

มุทิตา สร้อยเพชร. (2564). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ. สืบค้น

ตุลาคม 2566, จาก https://dusitpoll.dusit.ac.th

นันทพันธ์ คดคง. (2564). นโยบายสาธารณะสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สู่การ

พัฒนาอย่างยั่งยืน. การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2564. 7(6). 312-314. สืบค้นจาก file:///C:/Users/Sky/Downloadsนันทพันธ์+คดคง+-309-329%20(2).pdf

อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (2561). บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566, จาก

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?titleบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

เทศบาลตำบลเสิงสาง. (2566). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566, จาก

http://www.soengsang.go.th/index.php?op=staticcontent&id=54714

จารุวิทย์ ศิริพรรณปัญญา. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ในเขตจังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. จาก http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2564/M129947

ขวัญทิพย์ แววสง่า. (2563). การศึกษาการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของ

ประชาชนในเขตพื้นที่ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. จาก file:///C:/Users/Sky/Downloads/6110521502.pdf

ชัยวัฒน์ จุวรรณ. (2564). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร

จังหวัดสกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร. จาก file:///C:/Users/Sky/Downloads/2022022262426423117_fulltext.pdf

รรรดา จำรัสศรี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ. จากfile:///C:/Users/Sky/Downloads/RandaJamrassree-ปัจจัยที่ส่งผล(2).pdf

วิษณุ ปัญญายงค์ (2561). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 2022022262426423117_fulltext.pdf (snru.ac.th)