ความพึงพอใจในการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ความพึงพอใจในการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุในการรับเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2). เพื่อเปรียบเทียบต่อปัจจัยส่วนบุคคลต่อการให้บริการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง และ3). เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อประสิทธิภาพของระบบและการบริการจ่ายเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง จำนวน 264 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยเชิงปริมาณโดยวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจเพื่อที่ให้ได้ข้อมูลในลักษณะที่มีเนื้อหาสาระสำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง มีระดับความพึงพอใจในการรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพมีค่าเฉลี่ยมากสุด ( = 4.28) รองลงมา คือ ด้านการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ ( = 4.24) รองลงมา คือ ด้านความมั่นคงปลอดภัย ( = 4.19) ส่วนด้านการสำรวจผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 4.13) ตามลำดับ 2) แนวทางการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง พบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากต้องการได้รับเบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมีความจำเป็นในการใช้จ่าย และผู้สูงอายุทำงานได้น้อยลง ทำให้เบี้ยยังชีพที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน ผู้สูงอายุบางรายไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการอย่างทั่วถึง จึงควรมีการพัฒนาโครงสร้างการเข้าถึงสวัสดิการให้มีความเป็นมาตราฐานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสวัสดิการได้ง่ายขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญชนจำกัด.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). การดูแลผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ 2566, แหล่งที่มา :
การดูแลผู้สูงอายุ (dop.go.th).
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กระทรวงมหาดไทย. (2548). มาตรฐานการสงเคราะห์
ขวัญชนก บวกเอี๋ยว. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการมลพิษทางกลิ่นของฟาร์มสุกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน : กรณีศึกษาอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยมหิดล.
จันทร์จิรา ธิติพิศุทธิ์กุล. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลห้วยหิน อำเภอ
หนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต รป.ม
(รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
จินตนา รอดอารมณ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วน ตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต : สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิราภณรณ์ เกสร. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (รป.ม.). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชญาดา วัฒนะพานิช. (2563). การศึกษากระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2557).เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.