A ความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพของผู้ใช้บริการในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของผู้ใช้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในด้านต่างๆในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง 3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำมาพัฒนาปรับปรุงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ในเขตเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตาม เพศ โดยวิเคราะห์ค่า t-test Independent กำหนดค่าสถิติระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิธีการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ระดับความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในระดับมากและ ด้านการรักษาและส่งต่อของสิทธิบัตรทอง อยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุในความพึงพอใจต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเทศบาลตำบลพนมรุ้ง ได้แก่ ควรส่งเสริมช่วยเหลือด้านการรักษา ให้เพียงพอเเละมีความรวดเร็วต่อการใช้บริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้สูงอายุ และดูแลความเป็นอยู่ให้ ผู้สูงอายุ มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยให้ค่าตอบแทนพิเศษและสวัสดิการแก่บุคลากรที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ ผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การร่วมกลุ่มด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการประกอบอาชีพหรือรายได้เสริม ด้านกิจกรรมทางสังคม เพื่อกระตุ้นการสร้างความมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามนโยบายของภาครัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรวรรณ สมหมาย. (2554). บริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้สูงอายุในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า:การเปรียบเทียบความคาดหวังและบริการทางสุขภาพปฐมภูมิที่ได้รับจริง คลินิกชุมชนอบอุ่น เขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก:https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/251698
ภัทราพร ปุณะตุง. (2562). สวัสดิการมาตรฐานสำหรับผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/306132
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2567 จาก: https://ptn.moph.go.th /information/wp-content/uploads/2020/11/2560-2564_ HealthPlan12 _2560_2564.pdf
อัจฉรียา บุญเปรม. (2560). ประสิทธิ์ผลองค์การในการปฏิบัติงานตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลพุทธมณฑล.สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2567จาก: https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/295387