การสร้างอัตลักษณ์ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นจังหวัดระนองสู่การท่องเที่ยวชุมชน

Main Article Content

นรา พงษ์พานิช
กฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นจังหวัดระนอง 2. เพื่อสร้างอัตลักษณ์ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นจังหวัดระนองสู่การท่องเที่ยวชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลในการศึกษาประกอบด้วยแหล่งข้อมูลเอกสาร และแหล่งข้อมูลบุคคล สำหรับแหล่งข้อมูลบุคคล คือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 4 คน ที่เป็นผู้อาศัยอยู่บนเกาะคนฑี และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำอาหารพื้นถิ่นไม่น้อยกว่า 30 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและประเมินจากสื่อกิจกรรมประกวดการทำอาหารพื้นถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการพรรณนาเชิงวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า อาหารพื้นถิ่นของปากน้ำระนอง เช่น เหยแก๋ และน้ำเคย ถือเป็นสูตรดั้งเดิมที่เป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมมาอย่างยาวนานและมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และยังเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับธรรมชาติและความเรียบง่ายในการใช้ชีวิต เป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเรื่องของรสชาติและกรรมวิธีการผลิต และมีความพิเศษคือ รสชาติไม่เค็มเกินไป ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่น การจัดกิจกรรมประกวดอาหารพื้นถิ่นในครั้งนี้ได้กลายเป็นสื่อกิจกรรมที่ทำหน้าที่สร้างอัตลักษณ์ภูมิปัญญาพื้นถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นอย่างเมนู “ลอกอยอก” กลายเป็นเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ที่ควรแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่ และพบว่าเป็นการทำงานร่วมกันทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อความยั่งยืน


หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดระนองควรนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อสร้างเสน่ห์และความแตกต่างในตลาดการท่องเที่ยวรูปแบบ “ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร” ที่นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้กระบวนการปรุงอาหารท้องถิ่น ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับการเดินทางของนักท่องเที่ยวและสร้างความประทับใจที่ยั่งยืน

Article Details

How to Cite
พงษ์พานิช น., & ฉิมพลีวัฒน์ ก. (2025). การสร้างอัตลักษณ์ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นจังหวัดระนองสู่การท่องเที่ยวชุมชน. วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมสังคม, 2(01), หน้า 28 – หน้า 46. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CLGJournal/article/view/1377
บท
บทความวิจัย

References

กัญญาณัฐ โพธิ์คีรี. (2564). การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). ข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังจังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาาคม 2567. จาก http://krabi.old.nso/project.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2565). การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์อัตลักษณ์ท้องถิ่น: กรณีจังหวัดระนอง. วารสารวัฒนธรรมและสังคม, 8(2), 18-27.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ, โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์

เบญจวรรณ สุจริต และ ชัชชัย สุจริต. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. 12(2): 54-65.

ประภาศรี เหิกขุนทด. (2551). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยววัดพระ เชตุพนมังคลาราม (วัดโพธิ์). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประเสริฐ ภวสันต์. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดระนอง. วารสารท่องเที่ยวและนิเวศศาสตร์, 12(3), 42-55.

รักพงษ์ ขอลือ. (2564). รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจังหวัดระนอง. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(1). 56 – 69.

วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิโสภา ริวัฒนา. (2567). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการพัฒนาธุรกิจและทุนมนุษย์. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อมรรัตน์ พรมแสง. (2565). ประสิทธิผลของการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนอง. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ. 1(1). 14 – 20.

Bessière, J. (1998). Local development and heritage: Traditional food and cuisine as tourist attractions in rural areas. Sociologia Ruralis, 38(1), 21-34.

Castells, M. (1997). The power of identity. USA: Blackwell.

Chia, S. (2008). Local knowledge and sustainable development in Asia. Journal of Asian Studies, 15(2), 27-44.

Cohen, E. (1988). Authenticity and commoditization in tourism. Annals of Tourism Research, 15(3), 371–386.

Delbecq, A. L., Van de Ven, A. H., & Gustafson, D. H. (1975). Group techniques for program Planning: A guide to nominal group and Delphi processes. Glenview, IL: Scott, Foresman and Company.

Everett, S., & Aitchison, C. (2008). The role of food tourism in sustaining regional identity: A case study of Cornwall, South West England. Journal of Sustainable Tourism, 16(2), 150-167.

Giddens, A. (1991). Modernity and self-identity: Self and society in the late modern age. Polity Press.

Goodwin, H. (2008). The Community-based tourism: A tool for sustainability. Journal of Sustainable Tourism, 16(4), 465-478.

Gössling, S., & Higham, J. (2023). Sustainable tourism futures: Perspectives on systems, restructuring, and practices. Journal of Sustainable Tourism, 31(5), 901–920.

Gotham, K. F. (2007). (Re)branding the Big Easy: Tourism rebuilding in post-Katrina New Orleans. Urban Affairs Review, 42(6), 823–850.

Hall, C. M., & Page, S. J. (2022). The geography of tourism and recreation: Environment, place, and space. Routledge.

Hall, S. (1996). Introduction: Who needs ‘identity’? In S. Hall & P. du Gay (Eds.), Questions of cultural identity (pp. 1-17). Sage Publications.

Hjalager, A. M. (2010). A review of innovation research in tourism. Tourism Management, 31(1), 1–12.

Honey, M. (2008). Ecotourism and certification: Setting standards in practice. USA: Island Press.

Kerlinger. (1968). Foundations of Behavior Research. Japan: CBS.

Kittikhun, P. (2014). Crafts and local wisdom: The preservation of cultural heritage in rural Thailand. Thailand Cultural Journal, 9(1), 73-86.

Long, L. M. (2013). Culinary tourism. University Press of Kentucky.

Mowforth, M., & Munt, I. (2003). Tourism and sustainability: Development and new tourism in the third world. USA: Routledge.

Näyhä. (2014). Method and Application. School of Forest Sciences. Joensuu: University of Eastern Finland.

OECD. (2023). Tourism trends and policies. Organization for Economic Co-operation and Development.

Phan, K. (2016). Traditional healing practices: The role of herbal medicine in Southeast Asia. Asian Medical Journal, 19(3), 120-135.

Richards, G., & Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture? Tourism Management, 27(6), 1209–1223.

Richards, G. (2011). Creativity and tourism: The state of the art. Annals of Tourism Research, 38(4), 1225–1253.

Richards, G. (2012). Analyzing the cultural impact of events. Journal of Policy Research in Tourism, Leisure and Events, 4(3), 121–128.

Richards, G. (2018). Cultural tourism: A review of recent research and trends. Journal of Hospitality and Tourism Management, 36, 12-21.

Saaty, T. L. (1970). How to Make a Decision The Analytic Hierarchy Process. European Journal of Operational Research, 48, 9-26.

Scheyvens, R. (2002). Tourism for development: Empowering communities. USA: Pearson Education.

Scott. (1990). A matter of record: Documentary sources in social research. Polity press: Cambridge.

_______. (2006). Documentary research. London: Sage.

Sinthusiri, R. (2011). Sustainable agricultural practices in rural Thailand: The role of local wisdom. Journal of Rural Development, 7(4), 45-59.

Smith, M. K. (2003). Issues in tourism: Community-based tourism. USA: Routledge.

Smith, M. K. (2009). Issues in cultural tourism studies. USA: Routledge.

Tosun, C. (2000). Limits to community participation in the tourism development process in developing countries. Tourism Management, 21(6), 613-633.

UNESCO. (2003). Local knowledge and sustainability: A global perspective. United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.

UNWTO. (2017). Sustainable tourism development in UNESCO-designated sites in South-Eastern Europe. United Nations World Tourism Organization.

UNWTO. (2017). Tourism and the sustainable development goals: Journey to 2030. United Nations World Tourism Organization.

UNWTO. (2023). World tourism barometer. United Nations World Tourism Organization.

World Bank. (2013). The role of local knowledge in sustainable development. World Bank Policy Paper, 27(5), 89-102.

WTTC. (2023). Travel and tourism economic impact 2023. World Travel and Tourism Council.

World Tourism Organization. (2012). Global report on food tourism. UNWTO.

Yodkaew, P. (2022). Intangible cultural heritage: The wisdom of Teen Jok weaving of Lao Khrang Ethnic Group in Phrong Madua Sub-district Municipality, Mueang District, Nakhon Pathom Province. Interdisciplinary Research Review. 17(3). 28 – 33.