หลักความคิดของกลุ่มคน Generation Z ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อได้ทราบถึงข้อมูลหลักความคิดของกลุ่มคน Generation Z ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง 2.เพื่อได้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อหลักความคิดของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง 3.เพื่อให้นักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น รูปแบบการวิจัยงานเป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยงานวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 258 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Rendom sampling) ตามสูตรของ Yamane (1937) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการแสดงความคิดเห็นและเหตุผล ( = 3.75) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการให้ความร่วมมือ ( = 3.72) ด้านวัฒนธรรม ( = 3.69) ด้านสภาพแวดล้อม ( = 3.64)ด้านความรู้สึก ( = 3.63) ด้านความโน้มเอียง ( = 3.61) และด้านพฤติกรรม ( = 3.59) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรม (β = .512) ด้านความโน้มเอียง (β = .236) ด้านความรู้สึก (β = .179) ด้านพฤติกรรม ( β = .152) มีอิทธิพลต่อหลักความคิดของกลุ่มคน Generation Z ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่น มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ควรจัดโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้โดยผ่านการลงมือทำจริงในท้องถิ่น การจัดกิจกรรมหรือสร้างบรรยายกาศภายในสถานศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาการเรียรู้ผ่านประสบการณ์ในการสัมผัสชุมชนอย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. (2563). สรุปสาระสำคัญมาตรฐานการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2527). จิตวิทยาสังคม. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
กุสุมา เขียวเพกา. (2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). ประจวบคีรีขันธ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จักรพันธ์ ลิ่มมังกูร. (2561). แนวทางการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เฉลิมพล ตันสกุล. (2541). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทศพล กฤตยพิสิฐ. (2550). การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ที่เปลี่ยนแปลงไป. เข้าถึงได้จาก: www.bangkokbiznews.com. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 กรกฎาคม 2560).
บุญเทียน ทองประสาน. (2531). แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนในงานชุมชน. กรุงเทพฯ : สภาคาทอลิกแห่งประเทศ ไทยเพื่อการพัฒนา.
พิทยา ละศรีสังข์. (2564). การศึกษาทัศนคติของชุมชนในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์. วิทยานิพนธ์วิทยาการจัดการรัฐประศาสนศาสตร์. เชียงราย: กรมป่าไม้จังหวัดเชียงราย
สุขตา แดงสุวรรณ. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.
หัสดิน แก้ววิชิต. (2553). พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. อุดรธานี: สำนักวิชาการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
อติวัส ศิริพันธ์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์. (2545). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้. ในสารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาคม ใจแก้ว. (2534). ทฤษฎีการพัฒนาประเทศ. ปัตตานี: สำนักวิทยบริการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Kanu Priya Mohan. (2017). Ethical leadership: Development and validation of a multilevel measurement instrument. Journal of Behavioral Science, 21, 135-158.
Murphy Gardner Murphy Liam and Newcomb Mead. Theodore. (1973). Experimental Social Psychology. New York London: Harper and Brothers.
Marcie Merriman. (2015). Rise of Gen Z Behavioral Sciences in Diverse Perspectives. Bangkok: Behavioral Science Research Institute. Srinakharinwirot University
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.