ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, การใช้แอพพลิเคชัน, ผู้บริโภคบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน Grab, Food panda, Robinhood, Line man และ Shopee food ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และด้านการจัดจำหน่ายส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคต่อการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.10 ในขณะที่ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และทัศนคติของผู้บริโภคต่อการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2568). แรงไม่หยุด-ฉุดไม่อยู่!! ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เติบโตต่อเนื่อง คนไทยซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ กว่า 67%. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2568 จาก https://www.dbd.go.th/news/73190467
ฐานทัศน์ ชมภูพล และคณะ. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรีของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 19(1), 105-116.
พัชรวลัย ชัยวรรณเสถียร. (2563). การตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้าของบุคลากรหน่วยงานราชการ ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 69-83.
มณี สุขประเสริฐ และ คณะ. (2565). Photo Book COVID-19 2563 – 2564 เหตุการณ์ระทึกโลก. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พีเอ็นเอส ครีเอชั่น.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). วิกฤตจราจรติดขัด: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ & วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2568 จาก https://www.kasikornresearch .com /th/ analysis/k-econ/economy/Pages/35675.aspx
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (Marketing management). กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผย คน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2568 จาก https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/ newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx
Davis, F.D., et al. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982-1003.
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behaviour: An introduction to theory and research. Philippines: Addison-Wesley Publishing Company Inc
Global traffic scorecard. (2025). Ten highest traffic delay times by city. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2025 จาก https://inrix.com/scorecard/
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. (9th Edition). J New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Richard, M.O. & Chébat, J.C. (2016). Modeling online consumer behavior: Preeminence of emotions and moderating influences of need for cognition and optimal stimulation level. Journal of Business Research, 69, 541-553.
Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice Hall, Inc.