วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn <p> <strong> วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด</strong> ISSN 2822-1095 (Online) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2566 โดยวัดหนองนกกด จัดพิมพ์ปีละ 6 ฉบับ (2 เดือนต่อหนึ่งฉบับ)</p> <p>-ปรากฏในฐานข้อมูล google scholar ตั้งแต่ปี 2023</p> <p>-วารสารผ่านการประเมินคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดยได้รับการจัดให้อยู่ในวารสารกลุ่มที่ 2 ระยะเวลาการรับรองคุณภาพวารสารตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2568 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2572</p> th-TH journalsantayaphiwat@gmail.com (วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด ) journalsantayaphiwat@gmail.com (วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด ) Sat, 22 Mar 2025 12:08:21 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการขายสินค้าประเภททั่วไปบนสื่อสังคมออนไลน์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1418 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการขายสินค้าประเภททั่วไปบนสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการขายสินค้าประเภททั่วไปบนสื่อสังคมออนไลน์ บนแพลตฟอร์ม Facebook, TikTok, Line และ Instagram จำนวน 550 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการขายสินค้าประเภททั่วไปบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ด้านราคา ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านหลักฐานทางภาพ ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อทัศนคติที่มีต่อผู้ให้บริการ ในขณะที่ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และทัศนคติที่มีต่อผู้ให้บริการมีอิทธิพลต่อการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการขายสินค้าประเภททั่วไปบนสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> พุทธรักษ์ วิเศษเผ่า, อุบลวรรณ ขุนทอง, บุญธรรม ราชรักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1418 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้บริการแอปพลิเคชัน BMA Q ของกรุงเทพมหานคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1427 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้บริการแอปพลิเคชัน BMA Q ของกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามจากผู้ที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชัน BMA Q ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 480 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้บริการแอปพลิเคชัน BMA Q ของกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) <strong> </strong></p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของหน่วยงานและการเข้าถึงแอปพลิเคชันในการใช้งานส่งผลต่อทัศนคติในการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ที่ระดับ 0.01 และ 0.10 ในขณะที่ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งานและการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และทัศนคติในการใช้งานส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้บริการแอปพลิเคชัน BMA Q ของกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> ขวัญธินี ผาสุข, อุบลวรรณ ขุนทอง, บุญธรรม ราชรักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1427 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาพสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1453 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) ศึกษาสภาพและปัญหาของสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์และสังเคราะห์ การสื่อสารและการจูงใจ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการมีวิสัยทัศน์ 2) สภาพสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีสภาพและปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม การสื่อสารและการจูงใจ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการมีวิสัยทัศน์ ระดับมาก จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์</p> กัญญธนัฏฐ์ ทำนาเมือง, สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม, ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1453 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความต้องการจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1476 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของยามาเน (Yamane, 1973) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 399 คน แล้วสุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ <br />มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4<strong>.</strong>44, S.D. = .25) สภาพที่พึงประสงค์ของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.50, S.D. = .29) <br />2) ความต้องการจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความต้องการจำเป็นของความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดัชนีความต้องการจำเป็นได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ การให้บริการชุมชน (PNI<sub>modified</sub> = .02) รองลงมาคือ การประชาสัมพันธ์ (PNI<sub>modified</sub> = .01) การรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน (PNI<sub>modified</sub> = .01) และการให้ชุมชนมีส่วนร่วม (PNI<sub>modified</sub> = .00)</p> ธารนันท์ สุขสมโภชน์, อรสา จรูญธรรม, ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1476 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1480 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติและ 3) เพื่อศึกษาความสุขในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา<br />ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 โรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่ง ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยมีนักเรียนจำนวน 17 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มและมีหน่วยสุ่มเป็นห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น <br />1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติ จำนวน 5 แผน <br />2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย 3) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทย และ 4) แบบสอบถามความสุขในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสุขในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมีความสุขมาก</p> ภัทรวดี ผดุงศิลป์, สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1480 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางใจ ของครูเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1489 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางใจของครู เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ปีการศึกษา 2567 จำนวน 214 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูแต่ละศูนย์การศึกษาพิเศษจาก 9 สถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตอบสนองรายคู่ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน จำนวน 31 ข้อ มีค่าความตรง ระหว่าง 0.67 - 1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.59-0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.987 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธี Modified Priority Needs Index (PNI <sub>modified</sub>) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางใจของครูในภาพรวม มีค่าดัชนี PNI <sub>modified</sub> เท่ากับ 0.83 ถือว่ามีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการส่งเสริม และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (PNI <sub>modified</sub>=0.98) ด้านการทำงานเป็นทีม (PNI <sub>modified</sub>=0.84) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (PNI <sub>modified</sub>=0.82) และด้านบรรทัดฐานองค์กร (PNI <sub>modified</sub>=0.69) ตามลำดับ และทั้งสี่ด้านดังกล่าวถือว่าเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วน</p> ฝนทอง พูลเขตร์กรณ์, ทิพย์ องอาจวาณิชย์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1489 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1492 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต1 จำนวน 307 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิดประกอบด้วย 6 ด้าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิชเชอร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ และบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ เมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> กุลยาวัลย์ ด่านผาสุขสกุล, ภูวดล จุลสุคนธ์, ภัสยกร เลาสวัสดิกุล Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1492 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1493 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 90,777 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยง 0.99 สถิติที่ใช้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้าน กระบวนการบริหารและการจัดการ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ และปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) วิเคราะห์ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความสามารถในการเป็นผู้นำ ปัจจัยด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ปัจจัยด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และปัจจัยด้านการบริการเป็นเลิศ ตามลำดับ โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y’ <strong>= </strong>0.718 + 0.351X<strong><sub>7</sub></strong>** + 0.209X<strong><sub>2</sub></strong>** + 0.145X<strong><sub>1</sub></strong>** + 0.133X<strong><sub>4</sub></strong>** ส่วน สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z’y <strong>= </strong>0.336Z<strong><sub>7</sub></strong>* + 0.269Z<strong><sub>2</sub></strong>* + 0.164Z<sub>1</sub>* + 0.111Z<sub>4</sub>*</p> จันทนา หมดมลทิน, อรสา จรูญธรรม, ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1493 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1494 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 และ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 118 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและระดับปัญหา สภาพที่พึงประสงค์ 2) แบบสัมภาษณ์ 3) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 4) แบบสอบถามความเหมาะสม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ประกอบด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ กลไก แนวทางการประเมิน และเงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1494 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1499 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 โดยจำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 307 คนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น 0.976 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิชเชอร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ด้านการสื่อสาร และด้านการสร้างภาพลักษณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ด้านการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ ด้านการสร้างโอกาส และ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 เมื่อจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง ภาพรวมไม่แตกต่างกัน</p> ณัฐภัทร ชอบประดิษฐ์, ภัสยกร เลาสวัสดิกุล, ภูวดล จุลสุคนธ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1499 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความต้องการจำเป็นของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1512 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน และครูจำนวน 277 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ปีการศึกษา 2567 รวม 310 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตาราง ของเครซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนตามจำนวนผู้บริหารสถานศึกษาและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตอบสนองรายคู่ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน จำนวน 21 ข้อ มีค่าความตรง ระหว่าง 0.67 - 1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.33-0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.951 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธี Modified Priority Needs Index (PNI <sub>modified</sub>) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของครู ในภาพรวม มีค่าดัชนี PNI <sub>modified</sub> เท่ากับ 0.48 ถือว่ามีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการส่งเสริม และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ ด้านทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของครู (PNI <sub>modified</sub>=0.54) ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสมของครู (PNI <sub>modified</sub>=0.53) ด้านทักษะการสื่อสารดิจิทัลของครู (PNI <sub>modified</sub>=0.49) ด้านทักษะการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล(PNI <sub>modified</sub>=0.46) และด้านทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของครู (PNI <sub>modified</sub>=0.37) ตามลำดับ และทั้ง 5 ด้านดังกล่าวถือว่าเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วน</p> เพียงพลิน ธรรมพิมญชุ์, ทิพย์ องอาจวาณิชย์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1512 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล (CIPPA Model)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1555 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย มีประสิทธิภาพ 78.94<strong>/</strong>71.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลอยู่ในระดับมาก</p> ธนัชพร ยอดคำ, ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง, พิทักษ์ แฝงโกฎิ, อรรถพงษ์ ผิวเหลือง Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1555 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1558 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา มีประสิทธิภาพ 78.98/74.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด</p> อาฟู อุดมธัญญกิจ, พิทักษ์ แฝงโกฎิ, สุรเกียรติ บุญมาตุ่น, จตุพร สิมมะลี Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1558 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1566 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษารูปแบบการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 3) นำเสนอแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการทำบุญของชาวพุทธในพระพุทธศาสนาเริ่มด้วยการให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา ซึ่งเป็นแก่นแท้ของหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมไปถึงการทำบุญตามประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น 2. รูปแบบและแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ชาวพุทธได้ปรับแนวทางการทำบุญเพื่อความปลอดภัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก 1. งานมงคล เช่น การทำบุญทอดผ้าป่า, งานบวช, และการตักบาตร มีการรักษาระยะห่าง, สวมหน้ากากอนามัย, ใช้เจลแอลกอฮอล์, จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม, และถ่ายทอดสดออนไลน์เพื่อให้ผู้คนเข้าร่วมทางไกล นอกจากนี้ยังมีการจัดเตรียมอาหารแบบแยกและควบคุมเวลาในการจัดกิจกรรม 2. งานอวมงคล เช่น งานฌาปนกิจศพ มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม, คัดกรองอุณหภูมิ, จัดที่นั่งให้มีระยะห่าง, ใช้ภาชนะอาหารส่วนบุคคล, และทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์ 3. นำเสนอแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดังนี้ การทำบุญในงานมงคล คือ การจัดกิจกรรมต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย ใช้เทคโนโลยีในการบริจาค เช่น โอนเงินออนไลน์ หรือถ่ายทอดสดพิธีผ่านสื่อออนไลน์ และการทำบุญในงานอวมงคล คือ การจัดงานฌาปนกิจต้องรักษามาตรฐานสุขอนามัย เช่น การจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมการเตรียมอาหารที่สะอาดและปลอดภัย รวมถึงมาตรการในการรักษาความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ</p> เอกอาทิตย์ ยันตะบุศย์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1566 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยการประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1574 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Quantitative) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 378 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Inteview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 10 รูป/คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.76) 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ ประชาชนตำบลส้าน มีส่วนร่วมในการลงประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและเสนอความคิดเห็น ความต้องการในการพัฒนาชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการกิจกรรม ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน</p> เมธิชัย ริมสกุล, วรปรัชญ์ คำพงษ์, พระครูสุตนันทบัณฑิต Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1574 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1593 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1-5 จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งานและด้านความน่าเชื่อถือของหน่วยงานมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การให้บริการเว็บไซต์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติในการใช้งานและการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> พิมพ์ณดา ธนศิราภัทรศิลป์, อุบลวรรณ ขุนทอง, บุญธรรม ราชรักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1593 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1595 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน Grab, Food panda, Robinhood, Line man และ Shopee food ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และด้านการจัดจำหน่ายส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคต่อการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.10 ในขณะที่ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และทัศนคติของผู้บริโภคต่อการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> กวินนาฏ พร้อมประพันธ์, อุบลวรรณ ขุนทอง, บุญธรรม ราชรักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1595 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 หนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: การศึกษาเชิงสำรวจ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1610 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางสารัตถะและโครงสร้างของหนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2385) โดยการวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับไวยากรณ์บาลีอื่น ๆ โดยการศึกษาเปรียบเทียบกับคัมภีร์ไวยากรณ์บาลี ได้แก่ คัมภีร์มูลกัจจายน์ และหนังสือไวยากรณ์บาลีที่แต่งขึ้นโดยนักวิชาการตะวันตก ได้แก่ <em>Compendious Pali Grammar with a copious Vocabulary in the same Language</em> (1824) โดยReverend Benjamin Clough การวิจัยนี้มุ่งการศึกษาเชิงสำรวจเอกสาร โดยใช้ฉบับถ่ายเอกสารแบบเรียนไวยากรณ์บาลีอักษรอริยกะที่ได้รับมาจากพระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2565 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงสำรวจแบบเรียนไวยากรณ์บาลีอักษรอริยกะ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ลำดับเนื้อหา รายละเอียดของเนื้อหา วิธีการนำเสนอ แล้วนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีอื่น</p> <p> ผลวิจััยพบว่า 1) หนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะมีการนำเสนอเนื้อหาโดยย่อ 2 เรื่อง ได้แก่ อักขระและนามเท่านั้น เรื่องนามมีการนำเสนอแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อย่อย คือ นามศัพท์และกติปยศัพท์ มีการแสดงคุณสมบัติของนาม การใช้ตารางในการแสดงรูปสำเร็จ พร้อมศัพท์ตัวอย่างสำหรับแจกตาม และมีเนื้อหาสรุปกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์บาลีบางส่วน โดยการใช้ฉันทลักษณ์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ 2) หนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะนี้มีวิธีการนำเสนอเนื้อหายึดตามคัมภีร์มูลกัจจายน์และมีโครงสร้างคล้ายกับหนังสือไวยากรณ์บาลีของนักวิชาการชาวตะวันตกที่ทำขึ้นก่อนหน้าแบบเรียนนี้ <em>คือ </em><em>Compendious Pali Grammar with a copious Vocabulary in the same Language</em> (1824) โดย Reverend Benjamin Clough เช่น การใช้ตารางในการแสดงรูปสำเร็จ เป็นต้น</p> เพิ่มพูน หงษ์เหิร, กัญญา เจริญวีรกุล Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1610 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 จตุราริยสัจกับการเรียนการสอนโคลงโลกนิติ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1400 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโคลงโลกนิติตามขั้นตอนของจตุราริยสัจ จตุราริยสัจเป็นหลักคำสอนสำคัญที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงสั่งสอนเพื่อปลดเปลื้องเวไนยสัตว์ออกจากทุกข์ทั้งปวง และโคลงโลกนิติก็เป็นบทประพันธ์สุภาษิตที่มุ่งแสดงถึงสัจธรรมของชีวิต เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง</p> <p>การเรียนการสอนโคลงโลกนิติตามขั้นของจตุราริยสัจ คือ ขั้นทุกข์หรือขั้นกำหนดปัญหา ขั้นสมุทัย หรือขั้นตั้งสมมติฐาน ขั้นนิโรธหรือขั้นการทดลองเก็บข้อมูล และขั้นมรรคหรือขั้นสรุปผล เป็นขั้นตอนนำมา ซึ่งความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกระการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาโคลงโลกนิติ ซึ่งเป็นวรรณคดีสุภาษิตที่แสดงคดีโลกและคดีธรรมได้อย่างลึกซึ้งถึงความจริงของชีวิต และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ที่มีอยู่ในโคลงโลกนิติกับกรณีตัวอย่าง เพื่อฝึกฝนการคิดแก้ปัญญาหาเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในภาวการณ์ปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว</p> พระมหาพิเชษฐ์ อตฺตานุรกฺขี, พระมหาเด่นชัย พรมแสง, พระมหาศราวุธ ภูธร Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1400 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารเพื่อพัฒนาองค์กรทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1459 <p>บทความฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารเพื่อพัฒนาองค์กรทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในกระบวนการการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนนักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสังคม การเมือง และเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ความท้าทายใหม่ๆ เช่น ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และปัญหาสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป การรวมคุณธรรมจริยธรรมเข้ากับการเรียนรู้ทางวิชาการ ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาเยาวชนสำหรับตลาดแรงงานเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขและมีประสิทธิภาพ</p> <p>การประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนและบุคลากรในสถานศึกษา คือ 1) หลักทศพิธราชธรรมช่วยพัฒนาผู้นำทางการศึกษาให้มีคุณธรรม เช่น การส่งเสริมวัฒนธรรมการให้และการรักษาศีลธรรม 2) หลักนาถกรณธรรมช่วยบริหารสถานศึกษาโดยส่งเสริมความสามัคคีและความปรองดอง 3) หลักสังคหวัตถุใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมและความเท่าเทียมในโรงเรียน และ 4) หลักสัปปุริสธรรม เน้นการแก้ไขปัญหาผ่านการเจริญเติบโตและการพัฒนาทักษะของนักเรียน การบูรณาการหลักธรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการศึกษาและพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพและมีจิตสำนึกต่อสังคม</p> จตุภูมิ แสนคำ, พระศรีวชิรวรเมธี (นรินทร์ บุราคร), เอกชัย โชติไธสง Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1459 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 เด็กและครอบครัวไทยในยุคหลังโควิด-19: การปรับตัวและความปกติใหม่ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1565 <p>การระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวในประเทศไทย โดยส่งผลต่อวิถีประจำวัน การศึกษา ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ บทความนี้มุ่งศึกษาความท้าทายและการปรับตัวที่ครอบครัวไทยต้องเผชิญในยุคหลังการระบาดโควิด-19 โดยเน้นที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม จิตวิทยา เศรษฐกิจ และการศึกษา นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังได้กล่าวถึงบทบาทของนโยบายของรัฐและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการกำหนดรูปแบบปกติใหม่ของเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพจิต ดิจิทัล สำหรับครอบครัวไทย ทั้งยังได้เสนอแนะการเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวของครอบครัว สุขภาพจิต และสวัสดิการของเด็กหลังการระบาดของโควิด-19</p> เอนก มูลมา, เบญจวรรณ นัยนิตย์, ประกายเพชร แก้วอินทร์ Copyright (c) 2025 วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jswn/article/view/1565 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700