การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยการประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, แผนพัฒนาท้องถิ่น, อปริหานิยธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Quantitative) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 378 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Inteview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 10 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.76) 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ ประชาชนตำบลส้าน มีส่วนร่วมในการลงประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและเสนอความคิดเห็น ความต้องการในการพัฒนาชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการกิจกรรม ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน
References
งานยุทธศาสตร์และงบประมาณ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน. (2565) แผนพัฒนา
ท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) เพิ่มเติม ครั้งที่ 2/2565. องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน.
ณปภัช พัชรกรโชติ. (2564). หลักพุทธธรรมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาฃจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทักษิณ ประชามอญ. (2560). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ใน ดุษฎี
นิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธีรวัฒน์ โรจนมงคล. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระคำหล้า ไชยวงค์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้าศาลา
ดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเฉลิมวุฒิ จิตฺตสํวโร (น้อยโจม). (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระชาญชัย อินฺทญาโณ (ยันต์ฉิมพลี). (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของพระส่งในอำเภอโนนฃสะอาด จังหวัดอุดรธานี. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการปรีชา ติกฺขญาโณ (มาทา). (2560). ประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลนาแก้วอำเภอเกาะคา จังวัดลำปาง. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วงศกร บวรศักดิ์สุนทร. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นพ.ศ. 2566 –2570. ใน รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เวธิกา แดงเรือง. (2560). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สุวิมล สังวร. (2561). การบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี. ใน พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.