การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่าน, คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา มีประสิทธิภาพ 78.98/74.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567].
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤตยากาญจน อินทรพิทักษ. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนคําภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรูตามแนวคิดสมอง เป็นฐาน. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรพิไล เลิศวิชา. (2558). Roadmap การพลิกโฉมโรงเรียน ป. 1 อ่านออก เขียนได้ ใน 1 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พัชรมน ผลประพฤติ. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ เรื่อง สินค้าและบริการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พิมภรณ์ พวงชื่นและ วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคําภาษาอังกฤษด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 19-29.
ภัทราพร ทำคาม. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารราชพฤกษ์, 16(1).
รัชดากาญจน์ ใยดี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงแบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนตารอด จังหวัดกำแพงเพชร. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัตน์วิสาณ งามสม. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลลิดา ทองรัตน์. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยโฟนิกส์ ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Devies) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วนัชภรณ์ ปึ่งพรม และ กัญญารัตน์ โคจร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามแนวคิดสมองเป็นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1),93 – 94.
อัจจิมา ไชยชิต. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ (Phonics) โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนวัดเสาธงนอก.