ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • จันทนา หมดมลทิน มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อรสา จรูญธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยสมรรถนะผู้บริหาร, คุณภาพการศึกษา, สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 90,777 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยง 0.99 สถิติที่ใช้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้าน กระบวนการบริหารและการจัดการ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ และปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) วิเคราะห์ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความสามารถในการเป็นผู้นำ ปัจจัยด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ปัจจัยด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และปัจจัยด้านการบริการเป็นเลิศ ตามลำดับ โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ  Y’ = 0.718 + 0.351X7** + 0.209X2** + 0.145X1** + 0.133X4** ส่วน สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z’y = 0.336Z7* + 0.269Z2* + 0.164Z1* + 0.111Z4*

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2557). คู่มือสมรรถนะประจำผู้บริหาร. คู่มือการกำหนดสมรรถนะข้าราชการส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 12 กันยายน 2567 จากhttps://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet

__________. (2557). คู่มือสมรรถนะหลัก คู่มือการกำหนดสมรรถนะข้าราชการส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 12 กันยายน 2567 จากhttps://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet

__________. (2561). คู่มือระเบียบกฎหมายการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 12 กันยายน 2567 จาก https://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet

__________. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิชาภัทร โหนา (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(1).

รัชนีกร แสงสว่าง. (2564). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2562). มาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัด.

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw Hill.

Hutchins, G.B. (1991). Introduction to Quality: Control, Assurance and Management. NewYork: Macmillan.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Haper Collins Publishers.

Hassel, and Hassel. (2005). School Restuctring Options under on Child Left. Behind: Turnarounds with New Leader and Staff. [n.p.].

Likert, R. (1967). New pattern of management. Englewood New Jersey: Prentice-Hall. McGrw-Hill. outledge U.S.A..

Yamane T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20