บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • กุลยาวัลย์ ด่านผาสุขสกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ภูวดล จุลสุคนธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ภัสยกร เลาสวัสดิกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา, นวัตกร, นวัตกรรุ่นเยาว์, สมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต1 จำนวน 307 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิดประกอบด้วย 6 ด้าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิชเชอร์

ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ และบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรรุ่นเยาว์ เมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

References

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. (2564). นโยบายทางการศึกษาและแผนพัฒนา 4 ปี (พ.ศ. 2564 - 2567). ลพบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (Desired Outcomes of Education: DOE Thailand). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6(1), 7.

ศศิธร ศรีพรหม, สมโภชน์ อเนกสุข, & ดลดาว ปูรณานนท์. (2558). การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธ. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร. วารสารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 193-213.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิพล อาจอินทร์, อังคณา ตุงคะสมิต, จตุภูมิ เขตจัตุรัส, ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 109-124.

สุพจน์ ปลื้มจิตร, วิเชียรรู้ ยืนยง. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2), 202-215.

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2562). ราชกิจจานุเบกษา, 136(56 ก.), 30 เมษายน 2562.

พงศธร หอมชู, & สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2565). การบริหารกิจกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 157-172.

วารีรัตน์ แก้วอุไร, และคณะ. (2562). การพัฒนาเครือข่ายครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนด้านทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 77-91.

วรนิษฐา คำยศ, โสภา อำนวยรัตน์, สุนทร คล้าย, & น้ำฝน กุมมา. (2567). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะความเป็นนวัตกรของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์โกลเด้นทีค, 30(3), 126-143.

วสันต์ สุทธาวาศ, & ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคล ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยศิลปกร, 8(1), 530-542.

ไพฑูรย์ แวววงศ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. Journal of Integration Social Sciences and Development, 2(2), 1-14.

Bruton, D. (2011). Learning creativity and design for innovation. International Journal of Technology and Design Education, 21(3), 321-333.

Chatenier, E. D., Verstegen, J. A., Biemans, H. J., Mulder, M., & Omta, O. S. F. (2010). Identification of competencies for professionals in open innovation teams. R & D Management, 40(3), 271-280.

Makridakis, S. (2017). The forthcoming artificial intelligence (AI) revolution: Its impact on society and firms. Futures, 90, 46-60.

Nielsen, J. A. (2015). Assessment of innovation competency: A thematic analysis of upper secondary school teachers' talk. Journal of Educational Research, 108(4), 318-330.

UNESCO. (2015). Rethinking education: Towards a global common good. The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20