แนวทางการใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารเพื่อพัฒนาองค์กรทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ:
หลักคุณธรรมจริยธรรม, การบริหารจัดการองค์กรทางการศึกษา, การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารเพื่อพัฒนาองค์กรทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในกระบวนการการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนนักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสังคม การเมือง และเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ความท้าทายใหม่ๆ เช่น ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และปัญหาสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป การรวมคุณธรรมจริยธรรมเข้ากับการเรียนรู้ทางวิชาการ ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาเยาวชนสำหรับตลาดแรงงานเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขและมีประสิทธิภาพ
การประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนและบุคลากรในสถานศึกษา คือ 1) หลักทศพิธราชธรรมช่วยพัฒนาผู้นำทางการศึกษาให้มีคุณธรรม เช่น การส่งเสริมวัฒนธรรมการให้และการรักษาศีลธรรม 2) หลักนาถกรณธรรมช่วยบริหารสถานศึกษาโดยส่งเสริมความสามัคคีและความปรองดอง 3) หลักสังคหวัตถุใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมและความเท่าเทียมในโรงเรียน และ 4) หลักสัปปุริสธรรม เน้นการแก้ไขปัญหาผ่านการเจริญเติบโตและการพัฒนาทักษะของนักเรียน การบูรณาการหลักธรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการศึกษาและพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพและมีจิตสำนึกต่อสังคม
References
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2532). การศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนโตร์.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2544). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.
ดารณี พิมพ์ช่างทอง. (2552). ระบบสารสนเทศในองค์กร. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ด ดูเคชั่น จำกัด.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2536). วิชาชีพนิยมของระบบราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: วิวัฒนาการและผลกระทบต่อสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2557). พื้นฐานการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผกา สัตยธรรม. (2544). คุณธรรมของครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระเทวินทร์ เทวินโท. (2550). จริยธรรมศาสตร์ จริยธรรมและคุณธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งแสงการพิมพ์ จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอุดม ชาตเมธี. (2556). การพัฒนาตนตามหลักมงคลของพระพุทธเจา. กรุงเทพฯ: มหาเปรียญ.
พายุ ภูคำวงศ์. (2558). “การปรับใช้หลักพุทธจริยาเพื่อพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน”. บทความวิจัย งานสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2558. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงการณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2568). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เรียกใช้เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://dictionary.orst.go.th/index.
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กรแนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง
วิมล จิโรจพันธุ์และประชิด สกุณะพัฒน์. (2547). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์ การพิมพ์.
สมบัติ รัตนนคร. (2558). “หลักสูตรการพัฒนาคุณธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6”. บทความวิจัย งานสัมมนา วิชาการระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2558. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมภพ ชีวรัฐพัฒน์. (2539). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ : นานาสิ่งพิมพ์.
สุรีย์ มีผลกิจ. (2552). คุณธรรม จริยธรรม สามัคคีธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด.