การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำนามโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านขุนเตรียมพุทธศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ภูริวัจน์ แก้วดอกรัก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อรยา แก้วปั๋น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้, สมองเป็นฐาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ          เรื่องคำนามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านขุนเตรียมพุทธศาสตร์ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์เรื่องคำนาม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ      สมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านขุนเตรียมพุทธศาสตร์                ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อ        การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านขุนเตรียมพุทธศาสตร์ โดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลอง กลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบ            ก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้        สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่า t-test

  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะเรื่องคำนามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านขุนเตรียมพุทธศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 78.27/84.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์เรื่อง            คำนาม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ. (2562). การพัฒนาการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองพัฒนาความสามารถอ่านและเนื้อหาคำภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.

คนึงชัย วิริยะสุนทร. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมอเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการอ่านเขียนและคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(1), 130-142.

ณัฐนันท์ จันทโสก และวรางคณา เทศนา. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL). วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 1(2), 102-113.

นันท์นภัส ดวงคำ และสรรชัย ชูชีพ. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำในภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมตตาศึกษาในพระราชูปถัมภ์. วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด, 2(6), 26-37.

เบญจกัญญา ปานงาม และวรางคณา เทศนา. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 1(2), 114 -131.

พัชรี สิทธา.(2561).การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนาพร คงยวง. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระเสนอบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วราภรณ์ ทรายทอง และสิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนตะกั่วป่า“เสนานุกูล” ที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ. วารสารร้อยแก่นสารมหาวิทยาลัยรามคำแหง, 7(5), 237-247

วันวิสาข์ ม่วงงาม. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนบ้านทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง. ใน การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง คําภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรียาภัยที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 248 - 258

สุธาทิพย์ ชัยแก้ว. (2564).การพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียนสะกดคำและการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Jensen. (2000). Brain-based learning. San Diego, CA: The Brain Store Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-09