แนวทางการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร กรณีศึกษา สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4

ผู้แต่ง

  • วรรณิดา สุขชาตะ -

คำสำคัญ:

แนวทาง, ธรรมาภิบาล, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 จังหวัดขอนแก่น 2. ศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชากรจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1. การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 จังหวัดขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลักธรรมาภิบาลที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หลักความโปร่งใส (ค่าเฉลี่ย= 4.48) รองลงมา คือ หลักการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย= 4.47) และ น้อยที่สุด คือ หลักความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย = 4.32)            2. แนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 คือ การให้ผู้นำเป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนองค์กร และเป็นผู้กำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานและสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ    

References

กรกนก เหรียญทอง. (2566). การบริหารหลักธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ. วารสารวิชาการนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 5(1), 287-298.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2550). ความหมายและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล. การสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี 2550 ครั้งที่ 30, ปทุมธานี.

ชาญยุทธ หาญชนะ. (2567). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(48), 350-359.

นพวรรณ นารีรักษ์. (2564). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสถาบันการสอนศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น [รายงานวิจัยสหกิจศึกษา]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระเรืองเดช โชติธมฺโม, พระครูสุธรรมกิจโกศล, เศรษฐพร หนุนชู, พระเอกรัตน์ มหามงคโล. (2562). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหาร. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 10(1), 11-21.

ภูดิศ นอขุนทด. (2565). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(1), 1029-1044.

วัลลีรัตน์ พบคีรี, อภิชิต สถาวรวิวัฒน์, ประสงค์ กิติดำรงสุข, สุทธิสา จันทร์เพ็ง. (2567). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการปฏิบัติราชการตามเกณฑ์ธรรมาภิบาล. วารสารวิชาการ ป.ป.ช, 15(2), 91-107.

ศุภกร ถือธรรม. (2564). คุณลักษณะผู้นำกับการบริหารองค์การแบบเป็นทางการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 2(1), 59-68.

สำนักงานป้องกันและปรามปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2567). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานกระบวนงานส่งเสริมธรรมาภิบาลและขับเคลื่อนธรรมาภิบาลในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ.

แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์. (ม.ป.ป.). หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Dumez, H. (2018). Henri Fayol. Performativity of his ideas and oblivion of their creator. Working Paper 18-CRG-01, 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-18

How to Cite

สุขชาตะ ว. . (2025). แนวทางการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร กรณีศึกษา สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(2), 26–36. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1497