วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ</span></strong></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences </span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">วารสารเมธีวิจัย มีนโยบายในการ ส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการ และงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ โดยครอบคลุมด้าน ปรัชญา ศาสนา รัฐศาสตร์ สังคมศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ พัฒนศึกษา พัฒนาสังคม บริหารการศึกษา การศึกษา ภาษา วรรณกรรม และสหวิทยาการ กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 6 ฉบับ ออกราย 2 เดือน คือ เล่ม 1 มกราคม –กุมภาพันธ์ /เล่ม 2 มีนาคม – เมษายน /เล่ม 3 พฤษภาคม – มิถุนายน /เล่ม 4 กรกฎาคม - สิงหาคม /เล่ม 5 กันยายน - ตุลาคม /เล่ม 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม โดยรูปแบบผลงานที่วารสารจะรับพิจารณา มี 5 ประเภท คือ</span></p> <ol> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆมาก่อน</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกัน</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำรา หรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ</span></li> </ol> <p><span style="vertical-align: inherit;">ซึ่งบทความที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ ( Peer review) ซึ่งปกติจะมี Double Blind (ผู้พิจารณา 3 คน) ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล และนำไปอ้างอิงได้ ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องมีสาระ งานทบทวนความรู้เดิมและเสนอความรู้ใหม่ที่ทันสมัยรวมทั้งข้อคิดเห็นที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน ผลงานไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆการเตรียมต้นฉบับที่จะมาลงตีพิมพ์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับบทความ และการสมัครสมาชิก</span></strong></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สำนักงานวารสารเมธีวิจัย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">เลขที่ 555/4 หมู่ที่ 11 ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">อีเมล์: chakkree_2532@hotmail.com </span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">อาจารย์ ดร.จักรี ศรีจารุเมธีญาณ โทรศัพท์ 080-7506846 </span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">1 ประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">วารสารเมธีวิจัย ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.1 บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.2 บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป </span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.3 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.4 บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกัน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.5 ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำรา หรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การส่งบทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารเมธีวิจัย ต้องผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ และรอการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร</span></p> <p><strong> </strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">การเตรียมบทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้ชุดแบบอักษร (font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษ (A4) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้าย และด้านขวา ขนาด 3.81 ซม. ด้านบน ขนาด 4.5 ซม. และด้านล่าง ขนาด 4.01 ซม. พร้อมใส่หมายเลขหน้ากำกับทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความไม่ควรยาวเกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ (A4) โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การพิจารณาและคัดเลือกบทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind peer review)</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">2 บทคัดย่อ (Abstract)</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 350 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง บทความวิจัย/วิชาการ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตาราง และ ให้มีเพียง 3 ส่วนเท่านั้น คือ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1) วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">2) ผลการวิจัยพบว่า ควรประกอบด้วยผลที่ได้รับจากการค้นคว้า ศึกษา และผลของค่าสถิติ (ในกรณีมีการวิเคราะห์)</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3) คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญไม่เกิน 3 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษาและจะปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) (;)</span></p> <p><strong> </strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">3 เนื้อเรื่อง ควรประกอบด้วย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิจัย ประกอบด้วย</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่าง ๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย รวมถึงรวบรวมหลักการ วิธีการ โดยมีรายละเอียดว่าจะต้องศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) เป็นการกำหนด วิธีการ กิจกรรม รายละเอียดของการวิจัย การศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.4 สรุปผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.1.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือ แผนภูมิ ตามความเหมาะสม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.5 อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์ นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.6 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.7 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) (Acknowledgement) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย และหมายเลขของทุนวิจัย</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.8 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA เวอร์ชั่น 6 (American Psychological Association) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลายโดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆที่ง่ายต่อการศึกษาและการปฏิบัติ</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">3.2 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิชาการ ประกอบด้วย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้ง</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.2 เนื้อหา (Content) เรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้อ่านได้รับทราบ เนื้อหาที่ดีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและน่าสนใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิดของผู้เขียนเป็นสำคัญ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.3 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนบทความที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ เป็นการกลั่นกรอง การรวบรวมหรือการลดข้อความให้เหลือส่วนที่สำคัญเท่านั้น</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.4 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">3.3 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทวิจารณ์หนังสือ ประกอบด้วย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.1 ชื่อเรื่องของหนังสือ (Title) ให้ระบุทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.2 ชื่อผู้เขียนหนังสือ (Author) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษพร้อมระบุสถาบัน หรือหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.3 ชื่อผู้วิจารณ์ (Name of Reviews) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ พร้อมระบุสถาบัน หรือหน่วยงานของที่ผู้วิจารณ์สังกัด</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.4 เนื้อหาการวิจารณ์ (Reviews Content) ในการเขียนเกี่ยวกับหนังสือวิจารณ์ เนื้อเรื่องจะเป็นส่วนแสดงความคิดเห็นและรายละเอียดในการวิจารณ์ โดยนำเสนอเรื่องราวจุดเด่น จุดบกพร่องของเรื่อง โดยทำการวิจารณ์หรือวิพากษ์อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผลตามหลักวิชาการ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.5 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนสรุปความคิดเห็นทั้งหมดที่วิจารณ์รวมถึงให้ข้อคิดหรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.6 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆที่เป็นรูปแบบเดียวกัน</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การเขียนเอกสารอ้างอิง</span></strong></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">รายงานการวิจัย </span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้เขียน (ในกรณีภาษาไทย ใช้ชื่อและนามสกุล และในกรณีภาษาอังกฤษ ใช้นามสกุลและชื่อ). ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อย่อของวารสาร. เล่มที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์: เลขหน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง. ในกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้ใส่รายชื่อผู้เขียนคนแรก แล้วตามด้วยคำว่า “และคณะ” หรือ “et al.”</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">หนังสือ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้เขียน (ในกรณีภาษาไทย ใช้ชื่อและนามสกุล และในกรณีภาษาอังกฤษ ใช้นามสกุลและชื่อ). ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. สำนักพิมพ์. เมืองที่พิมพ์ : เลขหน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง. </span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">รายงานการประชุมและสัมมนา</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเอกสารรวมเรื่องที่ได้จากรายงานการประชุม. วัน เดือน ปีที่จัด : สถานที่จัด : สำนักพิมพ์ หรือผู้จัดพิมพ์. เลขหน้า.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">วิทยานิพนธ์/ ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ระดับวิทยานิพนธ์ : ชื่อสถาบันการศึกษา.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">บทความในหนังสือพิมพ์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้เขียน. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์. เล่มที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์: เลขหน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สัมภาษณ์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. วัน เดือน ปีที่สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี).</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สื่ออิเล็กทรอนิกส์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อเว็บไซต์. วัน เดือน ปีที่สืบค้น. ได้มาจาก ชื่อ website.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">4 ภาพประกอบ (Figure) และส่วนตาราง (Table)</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ภาพประกอบและตารางควรมีเท่าที่จำเป็น โดยพิมพ์หน้าละ 1 ภาพ หรือ 1 ตารางสำหรับคำบรรยายภาพและตารางให้พิมพ์เหนือภาพหรือตาราง ส่วนคำอธิบายเพิ่มเติมให้ใส่ใต้ภาพหรือตาราง</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">กำหนดการออกวารสาร</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">***หมายเหตุ: วารสารตีพิมพ์ฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม</span></p> th-TH chakkree_2532@hotmail.com (อาจารย์ ดร.จักรี ศรีจารุเมธีญาณ) chutima.khamlaiwong@gmail.com (นางสาวชุติมา ศรีจารุเมธีญาณ) Fri, 18 Apr 2025 17:08:12 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรม: พระธาตุพนมจากตำนานอุรังคธาตุ สู่การยกระดับเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1021 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิเคราะห์ตำนานอุรังคธาตุในฐานะเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 2. ยกระดับพระธาตุพนมสู่การเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม 3. พัฒนาชุดความรู้และหลักสูตรการสื่อสารกิจกรรมการท่องเที่ยวพระธาตุพนมและพระธาตุบริวาร 4) เสนอแนวทางการยกระดับพระธาตุพนมสู่การเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ 1. พระสงฆ์ 2. ปราชญ์ผู้รู้ 3. ประชาชน 4. ผู้นำชุมชน 5. ภาครัฐ 6. พ่อค้า-แม่ค้า 7. มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และ 8. นิสิต ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ประชากรที่อาศัยใน 2 ประเทศ จำนวน 810 คน สุ่มโดยเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ตำนานอุรังคธาตุ เป็นวรรณกรรมเชิงศาสนามีเนื้อหาเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นความเชื่อดั้งเดิม คือ การเสด็จมาของพระพุทธเจ้าสู่ภูกำพร้าเพื่อพยากรณ์สถานที่สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของประชาชนสองฝั่งโขง</li> <li>การมีส่วนร่วมในการยกพระธาตุพนมเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. จัดตั้งคณะกรรมการ 2. จัดเวทีสาธารณะ 3. จัดกิจกรรมการศึกษา 4. การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ 5. ส่งเสริมความร่วมมือ</li> <li>ชุดความรู้และหลักสูตรการสื่อสารกิจกรรมการท่องเที่ยวพระธาตุพนมและพระธาตุบริวาร มีค่าประสิทธิภาพ 81.73/83.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และคะแนนทดสอบทักษะด้านการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ หลังเรียน ( = 20.27) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 16.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผู้อบรมมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดความรู้และหลักสูตรฯในระดับมาก ( = 4.45)</li> <li>การยกระดับพระธาตุพนมสู่มรดกโลกทางวัฒนธรรม ควรมีแนวทาง ดังนี้ 1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2. จัดสรรงบประมาณสนับสนุน 3. จัดทำแผนการดำเนินงาน 4. ดำเนินงานตามแผน และมีการติดตาม ประเมินความสำเร็จ 5. ทุกกระบวนการประชาชนมีส่วนร่วม</li> </ol> ศตพล ใจสบาย, ศศิธร ล่องเลิศ, มาวิน โทแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1021 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 กระบวนการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1484 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2. เสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ 1. นายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน 2. สมาชิกเทศบาล จำนวน 4 คน 3. เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน และ 4. ประชาชน จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน ผลการศึกษาประเด็นกระบวนการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า เป็นกระบวนการระบุหาความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กรและชุมชน ประเมินผลกระทบของความเสี่ยงพัฒนาแนวทางการจัดการกับความเสี่ยง และนำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบโดยมีการบูรณาการ ซึ่งเน้นความสอดคล้องระหว่างแผนงานกระบวนงาน บุคคลาการ และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความปลอดภัยและบรรลุเป้าหมายขององค์กรและชุมชน</p> ปริชาติ บุตรนิน, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์, อภินันท์ ทะสุนทร Copyright (c) 2025 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1484 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร กรณีศึกษา สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1497 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 จังหวัดขอนแก่น 2. ศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชากรจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">ผลการวิจัย พบว่า 1. การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 จังหวัดขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลักธรรมาภิบาลที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หลักความโปร่งใส (ค่าเฉลี่ย= 4.48) รองลงมา คือ หลักการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย= 4.47) และ น้อยที่สุด คือ หลักความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย = 4.32) 2. แนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 คือ การให้ผู้นำเป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนองค์กร และเป็นผู้กำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานและสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ </span></p> วรรณิดา สุขชาตะ Copyright (c) 2025 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1497 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1230 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลโนนเต็งที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ใช้วิธีคัดเลือกจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1. แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมรณรงค์หาเสียง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชน</li> <li>แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า 1. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรจัดกิจกรรมเชิงรุกเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในระดับชุมชน 2. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรจัดเวทีสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 3. สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ข้อมูลการเลือกตั้งเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชาชนในวงกว้าง</li> </ol> <p>ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นแนวทางในการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านกิจกรรมเชิงรุก การสร้างพื้นที่แสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่ข้อมูลการเลือกตั้งอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ </p> นันทภพ นมเกษม, เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล Copyright (c) 2025 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1230 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 บทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา บ้านหนองหญ้าม้า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/924 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน และ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ 1. ประธานชุมชน 2. รองประธานชุมชน 3. คณะกรรมการชุมชน 4. ประชาชนและ 5. ปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาประเด็นประเด็นบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้นำชุมชนมีความสามารถในการบริหารชุมชนและกองทุน คอยดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขของชาวบ้านอยู่เสมอ ชาวบ้านรายใดมีความเดือดร้อนก็จะคอยไปช่วยแก้ไขปัญหา ทั้งยังเป็นที่รักของชาวบ้านในชุมชน ประเด็นปัญหาและอุปสรรคของบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้นำชุมชนไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาของการบริหารกองทุนได้ในบางดรณี เช่น การคัดเลือกคุณสมบัติของชาวบ้านที่จะมากู้เงินหรือมาทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติก่อนที่จะให้กู้เงิน ปัญหาการคอรัปชั่นในกองทุน และประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้นำชุมชนควรจะกำหนดแผนงานหรือนโยบายใด ๆ ในการบริหารกองทุน ควรจะลงพื้นที่ศึกษาสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้ให้ตรงกับลักษณะของชุมชน</p> <p> </p> พงศกร ชาวดง, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์, รพีพร ธงทอง Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/924 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1231 <p>การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่นเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้งระดับเทศบาลซึ่งเป็นหน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่นยังคงเป็นประเด็นท้าทายที่ต้องได้รับการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา และ 2. เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองหัวฟานที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ใช้วิธีคัดเลือกจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1. แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการแสดงออกด้วยการกระทำ<strong> </strong>2. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า 1. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งและสิทธิหน้าที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย 2. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสังเกตการณ์การปราศรัยหาเสียงและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล</p> <p>สรุปผลการวิจัย การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองหัวฟานจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองและกระบวนการเลือกตั้ง ควบคู่ไปกับการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมที่หลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป</p> นันทวรรณ นมเกษม, เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล Copyright (c) 2025 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1231 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกอง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/926 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกอง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2. วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกองตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3. เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกอง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ คือ 1. ผู้ใหญ่บ้าน 2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3. คณะกรรมการหมู่บ้าน และ 4. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาประเด็นคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ด้านร่างกาย พบว่า ประชาชนมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายอันเนื่องจากการทำการเกษตร ด้านจิตใจ พบว่า สภาพจิตใจของประชาชนนั้นขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ตนจะได้รับ หากผลผลิตขายได้ในราคาสูงก็จะส่งผลให้เกษตรกรมีสภาพจิตใจดีขึ้น ด้านสังคม พบว่า ประชาชนที่อยู่ร่วมกันภายในชุมชนไม่ได้มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งหรือมีปากเสียงกัน ประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ด้านร่างกาย พบว่า ประชาชนควรจะทำการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและเมื่อเจ็บป่วยควรทำการรักษา ณ โรงพยาบาลของภาครัฐหรือภาคเอกชน ด้านจิตใจ พบว่า ควรทำจิตใจให้เข้มแข็ง ปรึกษาญาติพี่น้องเมื่อเกิดปัญหา หรือการเข้าวัดทำบุญเพื่อให้จิตใจสงบซึ่งจะได้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้านสังคม พบว่า ประชาชนที่อยู่ร่วมกันภายในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน</p> อภิญญา ทองทิพย์, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์, รพีพร ธงทอง Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/926 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัญหาและอุปสรรคการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/938 <p>รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นรางวัลมาตรฐานระดับโลกและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินองค์กรตนเอง เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เน้นวิธีการหรือรูปแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการพัฒนาองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นจากการพัฒนาบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและทุกระดับ โดยบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. อธิบายการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2. วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยใช้การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารรายงานประจำปี รายงานการวิจัย และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1. การดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 หมวด ได้แก่หมวด 1 การนำองค์กร หมวด 2 กลยุทธ์ หมวด 3 ลูกค้า หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด 5 บุคลากร หมวด 6 การปฏิบัติการ หมวด 7 ผลลัพธ์ 2. สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ คือ 2.1) บุคลากรมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับหลักการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแหงชาติ 2.2) การนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมาปรับใช้ในองค์กรขาดความต่อเนื่องในการนำไปปฏิบัติ 2.3) หลายองค์กรประสบปัญหาเรื่องแผนการดำเนินงานที่ขาดความชัดเจนและต่อเนื่องซึ่งมีความเชื่อมโยงกับปัญหาด้านบุคลากร</p> นิภาพรรณ เจนสันติกุล Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/938 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ: เครื่องมือเพื่อการพัฒนาองค์กร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1495 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมาย แนวคิดของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) และวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของการนำไปใช้ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ พบว่า การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความโปร่งใส ประสิทธิภาพในการทำงาน และการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐต่อประชาชน โดยมีแนวคิดพื้นฐานภายใต้กรอบแนวคิกธรรมาภิบาล มีการเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกและการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ มีข้อดี คือ 1. ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานที่ยึดหลักตามมาตรฐาน มีความโปร่งใส ปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด 2. มีคุณค่าเพื่อการป้องกัน และเตือนสติ รวมถึงสะท้อนภาพลักษณ์จากทัศนคติของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่มารับบริการ และข้อเสีย คือ 1. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้ 2. ขาดการปรับปรุงประเด็นตามข้อคำถาม 3. ไม่มีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เพื่อการพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ</p> ธีรภัทร น่าบัณฑิต , นิภาพรรณ เจนสันติกุล Copyright (c) 2025 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1495 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 พระรามของเขมร (รามเกรฺติ์) : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/711 <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องพระรามของเขมร (รามเกรฺติ์) ในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่าเรื่องพระรามของเขมร (รามเกรฺติ์) ปรากฏหลักธรรม คำสอนทางพุทธศาสนา 2 ประการ คือ 1. ไตรลักษณ์ 2. มงคลสูตร โดยหลักธรรมคำสอนเรื่อง ไตรลักษณ์ได้อธิบายให้เห็นในเรื่องของความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของทุกสรรพสิ่งที่ไม่มีวันหลีกพ้นได้ ส่วนหลักธรรมคำสอนเรื่องมงคลสูตร เป็นการอธิบายแนวทางในการปฏิบัติตนในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ความกตัญญู งดเว้นจากการทำชั่ว รู้จักเคารพ การทำนิพพานให้แจ้ง มีสติไม่ประมาท ซึ่งหลักธรรม คำสอนประการต่าง ๆ หากปฏิบัติตามแล้ว ก็จะช่วยสร้างความเจริญงอกงามแก่ชีวิต</p> ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/711 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700