https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/issue/feed
วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences
2024-10-23T13:38:10+07:00
อาจารย์ ดร.จักรี ศรีจารุเมธีญาณ
chakkree_2532@hotmail.com
Open Journal Systems
<p><strong><span style="vertical-align: inherit;">หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ</span></strong></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences </span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">วารสารเมธีวิจัย มีนโยบายในการ ส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการ และงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ โดยครอบคลุมด้าน ปรัชญา ศาสนา รัฐศาสตร์ สังคมศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ พัฒนศึกษา พัฒนาสังคม บริหารการศึกษา การศึกษา ภาษา วรรณกรรม และสหวิทยาการ กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 6 ฉบับ ออกราย 2 เดือน คือ เล่ม 1 มกราคม –กุมภาพันธ์ /เล่ม 2 มีนาคม – เมษายน /เล่ม 3 พฤษภาคม – มิถุนายน /เล่ม 4 กรกฎาคม - สิงหาคม /เล่ม 5 กันยายน - ตุลาคม /เล่ม 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม โดยรูปแบบผลงานที่วารสารจะรับพิจารณา มี 5 ประเภท คือ</span></p> <ol> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆมาก่อน</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกัน</span></li> <li><span style="vertical-align: inherit;">ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำรา หรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ</span></li> </ol> <p><span style="vertical-align: inherit;">ซึ่งบทความที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ ( Peer review) ซึ่งปกติจะมี Double Blind (ผู้พิจารณา 3 คน) ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล และนำไปอ้างอิงได้ ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องมีสาระ งานทบทวนความรู้เดิมและเสนอความรู้ใหม่ที่ทันสมัยรวมทั้งข้อคิดเห็นที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน ผลงานไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆการเตรียมต้นฉบับที่จะมาลงตีพิมพ์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับบทความ และการสมัครสมาชิก</span></strong></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สำนักงานวารสารเมธีวิจัย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">เลขที่ 555/4 หมู่ที่ 11 ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">อีเมล์: chakkree_2532@hotmail.com </span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">อาจารย์ ดร.จักรี ศรีจารุเมธีญาณ โทรศัพท์ 080-7506846 </span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">1 ประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">วารสารเมธีวิจัย ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.1 บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.2 บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป </span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.3 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.4 บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกัน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1.5 ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำรา หรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การส่งบทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารเมธีวิจัย ต้องผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ และรอการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร</span></p> <p><strong> </strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">การเตรียมบทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้ชุดแบบอักษร (font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษ (A4) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้าย และด้านขวา ขนาด 3.81 ซม. ด้านบน ขนาด 4.5 ซม. และด้านล่าง ขนาด 4.01 ซม. พร้อมใส่หมายเลขหน้ากำกับทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความไม่ควรยาวเกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ (A4) โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การพิจารณาและคัดเลือกบทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind peer review)</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">2 บทคัดย่อ (Abstract)</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 350 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง บทความวิจัย/วิชาการ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตาราง และ ให้มีเพียง 3 ส่วนเท่านั้น คือ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1) วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">2) ผลการวิจัยพบว่า ควรประกอบด้วยผลที่ได้รับจากการค้นคว้า ศึกษา และผลของค่าสถิติ (ในกรณีมีการวิเคราะห์)</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3) คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญไม่เกิน 3 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษาและจะปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) (;)</span></p> <p><strong> </strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">3 เนื้อเรื่อง ควรประกอบด้วย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิจัย ประกอบด้วย</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่าง ๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย รวมถึงรวบรวมหลักการ วิธีการ โดยมีรายละเอียดว่าจะต้องศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) เป็นการกำหนด วิธีการ กิจกรรม รายละเอียดของการวิจัย การศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.4 สรุปผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.1.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือ แผนภูมิ ตามความเหมาะสม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.5 อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์ นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.6 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.7 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) (Acknowledgement) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย และหมายเลขของทุนวิจัย</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.1.8 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA เวอร์ชั่น 6 (American Psychological Association) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลายโดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆที่ง่ายต่อการศึกษาและการปฏิบัติ</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">3.2 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิชาการ ประกอบด้วย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้ง</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.2 เนื้อหา (Content) เรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้อ่านได้รับทราบ เนื้อหาที่ดีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและน่าสนใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิดของผู้เขียนเป็นสำคัญ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.3 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนบทความที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ เป็นการกลั่นกรอง การรวบรวมหรือการลดข้อความให้เหลือส่วนที่สำคัญเท่านั้น</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.2.4 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">3.3 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทวิจารณ์หนังสือ ประกอบด้วย</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.1 ชื่อเรื่องของหนังสือ (Title) ให้ระบุทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.2 ชื่อผู้เขียนหนังสือ (Author) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษพร้อมระบุสถาบัน หรือหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.3 ชื่อผู้วิจารณ์ (Name of Reviews) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ พร้อมระบุสถาบัน หรือหน่วยงานของที่ผู้วิจารณ์สังกัด</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.4 เนื้อหาการวิจารณ์ (Reviews Content) ในการเขียนเกี่ยวกับหนังสือวิจารณ์ เนื้อเรื่องจะเป็นส่วนแสดงความคิดเห็นและรายละเอียดในการวิจารณ์ โดยนำเสนอเรื่องราวจุดเด่น จุดบกพร่องของเรื่อง โดยทำการวิจารณ์หรือวิพากษ์อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผลตามหลักวิชาการ</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.5 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนสรุปความคิดเห็นทั้งหมดที่วิจารณ์รวมถึงให้ข้อคิดหรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3.3.6 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆที่เป็นรูปแบบเดียวกัน</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การเขียนเอกสารอ้างอิง</span></strong></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">รายงานการวิจัย </span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้เขียน (ในกรณีภาษาไทย ใช้ชื่อและนามสกุล และในกรณีภาษาอังกฤษ ใช้นามสกุลและชื่อ). ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อย่อของวารสาร. เล่มที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์: เลขหน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง. ในกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้ใส่รายชื่อผู้เขียนคนแรก แล้วตามด้วยคำว่า “และคณะ” หรือ “et al.”</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">หนังสือ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้เขียน (ในกรณีภาษาไทย ใช้ชื่อและนามสกุล และในกรณีภาษาอังกฤษ ใช้นามสกุลและชื่อ). ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. สำนักพิมพ์. เมืองที่พิมพ์ : เลขหน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง. </span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">รายงานการประชุมและสัมมนา</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเอกสารรวมเรื่องที่ได้จากรายงานการประชุม. วัน เดือน ปีที่จัด : สถานที่จัด : สำนักพิมพ์ หรือผู้จัดพิมพ์. เลขหน้า.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">วิทยานิพนธ์/ ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ระดับวิทยานิพนธ์ : ชื่อสถาบันการศึกษา.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">บทความในหนังสือพิมพ์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้เขียน. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์. เล่มที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์: เลขหน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สัมภาษณ์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. วัน เดือน ปีที่สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี).</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">สื่ออิเล็กทรอนิกส์</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อเว็บไซต์. วัน เดือน ปีที่สืบค้น. ได้มาจาก ชื่อ website.</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">ส่วนที่ </span></strong><strong><span style="vertical-align: inherit;">4 ภาพประกอบ (Figure) และส่วนตาราง (Table)</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ภาพประกอบและตารางควรมีเท่าที่จำเป็น โดยพิมพ์หน้าละ 1 ภาพ หรือ 1 ตารางสำหรับคำบรรยายภาพและตารางให้พิมพ์เหนือภาพหรือตาราง ส่วนคำอธิบายเพิ่มเติมให้ใส่ใต้ภาพหรือตาราง</span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">กำหนดการออกวารสาร</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">***หมายเหตุ: วารสารตีพิมพ์ฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม</span></p>
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/403
องค์การและการจัดการภาครัฐสมัยใหม่
2024-03-23T16:50:51+07:00
ธนวัต มูลสมบัติ
tanawat2545tanawat@gmail.com
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ
chakkree_2532@hotmail.com
<p>องค์การและการจัดการภาครัฐในสมัยปัจจุบันมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างสังคมที่เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืน องค์การและการจัดการภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสำหรับประชาชนทุกคน นอกจากนี้ องค์การและการจัดการภาครัฐยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนานโยบายที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพขององค์การและการจัดการภาครัฐในสมัยปัจจุบันเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญและไม่ควรละเลย</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/380
ปัญหาความมั่นคงไซเบอร์และความร่วมมือในการแก้ปัญหา
2024-04-08T17:10:15+07:00
ชนลดา อินบุตร
giftchonlada29@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความมั่นคงไซเบอร์และความร่วมมือในการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะในภาครัฐและภาคเอกชน เพราะในปัจจุบันนี้บุคลากรของภาครัฐนั้นส่วนมากจะเป็นคนรุ่นเก่าที่ยังขาดความเข้าใจและความรู้ในการเข้าถึงปัญหาไซเบอร์ จึงทำให้เกิดปัญหาในการที่จะทำให้ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีมีความปลอดภัยทางการใช้งาน แต่ในทางกลับกันยังมีความเสี่ยงสูงจากการขาดความรู้และความเข้าใจ ในการใช้ที่เทคโนโลยีระบบสารสนเทศนี้ ซึ่งจะปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทในการทำงานจัดเก็บข้อมูลหรือที่เรียกว่าฐานข้อมูลสารสนเทศ อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้เกิดทั้งข้อดี และข้อเสียในการทำงานในปัจจุบันนี้อย่างมาก</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/401
จริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐยุคใหม่
2024-03-06T14:44:02+07:00
วิลัยภรณ์ เสาลึก
wilaiporn12092545@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ</p> <p>ยุคใหม่ เพราะโลกในยุคใหม่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งด้านการบริหาร และด้านจริยธรรม ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ทรัพยากรมนุษย์ก็ยังถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากอย่างหนึ่งในองค์กร และการที่มีผู้บริหารที่มีคุณธรรมจริยธรรมธรรมถือเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นอย่างมาก และยังมีความน่าเชื่อถือ สามารถนำความรู้เรื่องหลักคุณธรรม จริยธรรมมาบริหารจัดการภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด หลักจริยธรรมจึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานภายในองค์กร</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/541
การพัฒนาระบบการติดตามการดำเนินโครงการด้วยจินตทัศน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุน การตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กร
2024-04-22T09:26:15+07:00
วีรดา โฉมเชิด
siwaporn.l@rmutsb.ac.th
ณัฐกมล หอมยามเย็น
siwaporn.l@rmutsb.ac.th
ศิวพร ลินทะลึก
siwaporn.l@rmutsb.ac.th
วันเพ็ญ ผลิศร
siwaporn.l@rmutsb.ac.th
<p>บทความวิจัยเรื่องนี้ ได้ทำการศึกษาการพัฒนาระบบการติดตามการดำเนินโครงการด้วยจินตทัศน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการติดตามการดำเนินโครงการด้วยจินตทัศน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กร 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบการติดตามการดำเนินโครงการด้วยจินตทัศน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กร 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบการติดตามการดำเนินโครงการด้วยจินตทัศน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กร ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการติดตามการดำเนินโครงการด้วยจินตทัศน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กรที่พัฒนาขึ้นมีการแสดงรายงานภาพรวมของโครงการ งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ และงบประมาณที่คงเหลือเพื่อบริหารจัดการให้ดำเนินโครงการได้ทันตามระยะเวลาในแผนการดำเนินงานและใช้เงินงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.40, S.D.=0.46) และ 3) การประเมินความพึงพอใจด้านการใช้งานภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.40, S.D.=0.46)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/550
บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษา พระครูปริยัติวราภิรม เจ้าอาวาส วัดอุทกวราราม บ้านโนนทอง ตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
2024-05-02T09:00:11+07:00
ธนกฤต พุฒพันธ์
Seat007@outlook.com
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์
seat007@outlook.com
เสกสรรค์ สนวา
Seat007@outlook.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น และ 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม คือ 1. กำนัน 2. สารวัตรกำนัน 3. กรรมการหมู่บ้าน 4. ประชาชน 5. พระสงฆ์ และ 6. ปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาประเด็นบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น พบว่า พระครูปริยัติวราภิรมมีบทบาทในการอบรมสั่งสอนธรรมศึกษาหรือศีลธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำเป็นต้นคิดต้นแรงในการจัดบุญประเพณีต่าง ๆ ของหมู่บ้าน สืบสานและถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังภายในชุมชนให้ได้รู้ได้เห็นและปฏิบัติได้ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมในการจัดตั้งกลุ่มสวัสดิภาพทางสังคม </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/547
ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าไหม บ้านสังข์ หมู่ 6 ตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
2024-04-22T09:45:26+07:00
ชินวุฒ โคตะกา
Seat007@outlook.com
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์
seat007@outlook.com
เสกสรรค์ สนวา
Seat007@outlook.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 8 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1) ประธานกลุ่มวิสาหกิจ 2) รองประธานกลุ่มวิสาหกิจ 3) เลขานุการ 4) ฝ่ายผลิต 5) ฝ่ายการตลาด 6) สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจ และ 7) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผลการศึกษาประเด็นศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสังข์ พบว่า ประธานกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจมีการปรับตัวให้ทันตามสถานการณ์อยู่เสมอ จึงทำให้เกิดความราบรื่นในการทำงาน รู้จักการปรับตัวเพื่อที่จะเข้าหาสิ่ง ๆ นั้นให้ได้จึงจะเกิดความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ทั้งผู้นำและผู้ตาม ประเด็นปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสังข์ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดสมาชิกเข้ามาทำงานในกลุ่ม และปัญหาการแพร่ระบาดโควิด -19 และ ประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า ควรจะมีการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/549
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา บ้านโนนสัมพันธ์ ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
2024-04-22T09:49:40+07:00
อารีญา เชิดชน
Seat007@outlook.com
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์
seat007@outlook.com
ณัฐพงษ์ ราชมี
Seat007@outlook.com
สุพัฒนา ศรีบุตรดี
Seat007@outlook.com
วรฉัตร วริวรรณ
Seat007@outlook.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้ใหญ่บ้าน 2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3) คณะกรรมการหมู่บ้าน 4) เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และ 5) ประชาชน รวมทั้งสิ้น 21 คนแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาประเด็นคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา พบว่า คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย โดยชาวเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งหลังจากที่ได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารามักจะเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาการปวดขา ปวดแขน ปวดเอว ปวดหลัง ปวดไปตามร่างกาย อีกทั้งยังรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ 2) ด้านอารมณ์ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละวันแต่ละปี แต่โดยปกติแล้วเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราต่างเป็นคนอารมณ์ดี พูดคุยกับเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำ แต่ถ้าหากเกิดสถานการณ์ที่ไม่ดีขึ้นกับสวยางพารา เช่น โดนลักลอบขโมยก้อนยางพารา ยางพาราน้ำยางไม่ไหลตามที่คาดหวังไว้ ต้นยางพาราไม่เจริญเติบโต ก็จะทำให้เกษตรกรมีอารมณ์ที่ไม่ค่อยดี เกิดความโมโห และคิดหนักเกี่ยวกับผลผลิต 3) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยก่อนที่จะเริ่มมีการปลูกยางพาราสภาพแวดล้อมต่างๆ ของชาวเกษตรกรนั้นก็จะเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้และต้นไม้ใหญ่อยู่เป็นระยะ ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณไร่นา แต่พอเกษตรกรเริ่มที่จะทำการปลูกยางพารานั้นก็จะเริ่มมีการตัดต้นไม้ออก 4) ด้านสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ซึ่งมีการเปลี่ยนจากการจ้างคนงานมาเป็นทำงานด้วยตนเอง เนื่องจากราคายางพาราที่ตกต่ำลงและราคาปุ๋ยที่แพงขึ้น จึงส่งผลต่อเกษตรกรโดยตรง 5) ด้านความคิด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกษตรกรมีความคิดที่อยากจะปลูกยางพารานั้น มาจากเห็นคนอื่นที่เขาปลูกยางพาราแล้วเขาประสบความสำเร็จ มีเงิน มีทอง มีรถยนต์ ร่ำรวยหลังจากที่เขาทำการปลูกยางพารา อีกทั้ง ยางพารายังได้ผลผลิตตลอดปี</p> <p> </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences