ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการของเทศบาลตำบล หนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การให้บริการ, เทศบาลตำบลหนองบัวบานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ3) ศึกษาหาแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน จำนวนทั้งสิ้น 378 คน โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ t-test และ F-test (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.62) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการตอบสนองต่อผู้มารับบริการ ( = 3.72) รองลงมาคือด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ( = 3.71) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ( = 3.37) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้าน ก็พบว่าทุกด้านก็ไม่แตกต่างกัน และแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองบัวบาน ได้แก่ ควรจะมีนโยบายแสวงหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน มีการพัฒนาทักษะของผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
References
กวิน พรเลิศ. (2546). ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการด้านสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทอินเตอร์ลิสซิ่ง จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทร์จิรา อินต๊ะนนท์. (2551). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการทั่วไป). ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. 2552. คุณภาพการให้บริการภาครัฐ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 1(7), 105 - 145.
เทศบาลตำบลหนองบัวบาน. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน. เทศบาลตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี.
ธรามร ไพรพงษ์. (2550). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับคุณภาพการบริการของคลินิกนายแพทย์ ธนสิทธิ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการตลาด, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธัมมาภรณ์ ศรีเคลือบ และพัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์. (2559). การบริการสาธารณะของเทศบาล ศึกษากรณี เทศบาลตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนครราชสีมา.
บุญสรวง จาตุกุลสวัสดิ์. (2548). ความคาดหวังกับสภาพการบริการจริงของเจ้าหน้าที่ศุลกากรด้านพิธีการศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพตามความรับรู้ของตัวแทน.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยะนุช ตันเจริญ และสุรศักดิ์ โตประสี. (2560).คุณภาพการให้บริการสาธารณะด้านงานสวัสดิการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 1-90.105 - 145.
สุนารี แสนพยุห์. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาตำบลโพธิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.