ความนิยมทางการเมืองของประชาชนต่อพรรคภูมิใจไทยในตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความนิยมทางการเมืองของประชาชนต่อพรรคภูมิใจไทย 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความนิยมทางการเมืองของประชาชนต่อพรรคภูมิใจไทย ในตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยจำนวนทั้งหมด คือ 2,012 คน คำนวณจากกลุ่มตัวอย่างได้ 334 คน โดยได้มาจากสูตรของ ท่าโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความน่าเชื่อถือ 95% และความคลาดเคลื่อนของวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Stratified Sampling) การสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ระดับ .05 และเก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test แบบ Independent และค่าแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความนิยมทางการเมืองของประชาชนต่อพรรคภูมิใจไทยในตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพรรคการเมือง ด้านตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และด้านศักยภาพในการเป็นที่พึ่งในการพัฒนาเมืองเพื่อประชาชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .676 2) ปัจจัยส่วนบุคคลเฉพาะด้านรายได้มีความสัมพันธ์กับความนิยมทางการเมือง ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ และอาชีพไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
References
ธรรมรัตน์ ธรรมยาฤทธิ์. (2561). สภาพการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(2), 55-71.
พิชัย ขวัญทอง. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์และการเมือง. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ภัทรดา มณี. (2567). เปิดอาณาจักรภูมิใจไทย จาก สว. สีน้ำเงิน สู่เลือกตั้งท้องถิ่น ศูนย์รวมอำนาจ-อนาคตการเมืองไทย?. สืบค้นจาก https://thestandard.co/bhumjai-thai-local-election/
วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร. (2562). ความนิยมต่อพรรคการเมืองของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
สัญญา เคณาภูมิ. (2558). การตัดสินใจทางการเมืองแบบวิถีประชาธิปไตย: แนวคิดและรูปแบบลักษณะ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 33(2), 89-119.
Taro Yamane. (1973). Statistics: A preliminary analysis. New York: Harper & Row.