ประวัติศาสตร์พัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย

Main Article Content

ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้ มุ่งทบทวนพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย นับตั้งแต่ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญเข้ามายังดินแดนสยามในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นกระแส ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ได้รับการกล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในช่วงเวลานั้น จนกระทั่งก่อกาเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกในช่วงหลังจาก “การปฏิวัติสยาม 2475” และปรากฏถึงพัฒนาการ มาอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดระยะเวลา ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2560 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่ประกาศบังคับ ใช้รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ ผ่านบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่าง เป็นพลวัต ไม่ว่าจะเป็นยุคขุนศึกศักดินา ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ยุคประชาธิปไตยฉบับประชาชน และ ยุคประชาธิปไตยต่างสีเสื้อ ทาให้ทราบได้ว่ารัฐธรรมนูญไทยมีรากฐานมาจากการปฏิวัติ รัฐประหาร การยกร่าง โดยประชาชน การยกร่างโดยฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงการยกร่างโดยผู้มีอำนาจหรือกองทัพผ่านองค์กรนิติบัญญัติ เพื่อมุ่งการสืบทอดอำนาจผ่านกลไกตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การกลับไปศึกษาทบทวนถึงประวัติศาสตร์ของ รัฐธรรมนูญไทย จึงเป็นการย้อนพิจารณาบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังนาไปสู่การวิเคราะห์ ทำนาย และคาดการณ์ถึงลักษณะของรัฐธรรมนูญไทยในอนาคตได้อย่าง เป็นรูปธรรมอีกด้วย

Article Details

How to Cite
หน่อแก้ว ย. (2023). ประวัติศาสตร์พัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย. วารสารบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(1), 57–79. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/POPACRRU/article/view/850
บท
บทความวิชาการ