มิติเชิงนโยบายในความคาดหวังกับความจริงด้านการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ทศพล พงษ์ต๊ะ

บทคัดย่อ

ตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 โดยผู้สูงอายุมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า รัฐบาลมีมาตรการสำหรับเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุผ่านรูปแบบต่าง ๆ อาทิ กฎหมาย แผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบาย โดยมีการปรับปรุงเพื่อพัฒนาทั้งในแง่ของสิทธิหรือสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้สูงอายุในการเข้าถึงการให้บริการสาธารณะของรัฐ นอกจากนั้นสถาบันครอบครัวและชุมชนนับเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการพัฒนาในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง โรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ ขาดกำลังทรัพย์ที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ยังปรากฏให้เห็นตามสื่อต่าง ๆ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่ามาตรการของรัฐที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันจึงยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม 

Article Details

How to Cite
พงษ์ต๊ะ ท. (2021). มิติเชิงนโยบายในความคาดหวังกับความจริงด้านการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ. วารสารบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 4(2), 25–39. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/POPACRRU/article/view/827
บท
บทความวิชาการ