แนวการปฏิบัติที่ดี การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนต้นแบบ Zero waste บ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่ 17 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่ 17 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่ 17 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการจัดการขยะชุมชนดำเนินการตามแนวคิด ทฤษฎีการจัดการ POLC ได้แก่ (1) การวางแผน (Planning): ผู้นำชุมชนได้วางแผนการจัดการขยะในเบื้องต้น นั่นก็คือ การคัดแยกขยะ 4 ประเภท ตามหลัก 3R (2) การจัดองค์การ (Organizing) : ได้กำหนดหน้าที่ของสมาชิกทุกคนคือการคัดแยกขยะและ จัดการขยะในครัวเรือนของตนเอง และได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดการขยะในของชุมชน (3) การนำ (Leading) : ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการจัดการขยะ ได้กระตุ้นจิตสำนึกแก่สมาชิกในชุมชน และได้ให้สมาชิกในชุมชนเข้า ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ (4) การควบคุม (Controlling) : ชุมชนให้ความสำคัญกับการประเมินผลลัพธ์และ ตรวจสอบ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง ในการให้ความช่วยเหลือวางแผนและประชุมต่างๆ อีกด้วย สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จพบว่า มีปัจจัยภายในได้แก่ ปัจจัยภายใน (1) กระบวนการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก POLC (2) ผู้นำชุมชน มีจิตสาธารณะและให้ ความสำคัญกับปัญหา (3) ความร่วมมือของประชากรภายในชุมชน ส่วน ปัจจัยภายนอก คือ (1) การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชุมชนมา อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความรู้และงบประมาณ และรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ส่งผลช่วยให้ชุมชน ประสบความสำเร็จในด้านการจัดการขยะมูลฝอย (2) ความยั่งยืนการดำเนินงานชุมชนปลอดขยะโดยการดำเนินการจัดการขยะครบวงจรอย่างต่อเนื่องและเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกระดับ
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอย. สืบค้นจาก http://pcd.go.th/info_serv/waste_rubbish.htm
กิตติ มีศิริ. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนเกตุไพเราะ 3,4,5 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จารุณี วงค์สี. (2549). ทุนทางสังคมกับการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษาชุมชนวัดกลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธิสมบูรณ์ เจริญพาณิชย์พันธ์. (2555). กระบวนการจัดการขยะอินทรีย์ฐานศูนย์ในชุมชนเกตุ ไพเราะ 3-4-5 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง. (2567). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล. สืบค้นจาก https://www.maefaluang.go.th/data.php?id=2
อรณิชชา คชนา. (2562). การบริหารจัดการงานสวนป่าในโรงเรียน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.