การพัฒนากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณัฐพงศ์ รัตนสุวรรณ
ประยูร อิมิวัตร์
ภูริพัฒน์ แก้วศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (2) ศึกษาปัญหาในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (3) เสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวนทั้งหมด 265 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่มีประสบการณ์ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มเพื่อสรุปผลการศึกษา


ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นถูกต้องและชัดเจน ในการจัดเวทีประชาคมมีการเชิญหน่วยงานราชการอื่นมาร่วมรับฟังและเสนอความคิดเห็นร่วมกับประชาชน ซึ่งการจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาเป็นไปตามความต้องการของประชาชน ตลอดจนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้อง (2) ปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม คือ การขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ การจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน การขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการจดบันทึกและรวบรวมข้อมูล การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นมีลำดับขั้นตอนมากทำให้เกิดการล่าช้า ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ (3) แนวทางการพัฒนากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม ที่สำคัญ คือ ควรมีการระดมส่วนราชการและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในทุก ๆ ขั้นตอน โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและร่วมรับผลประโยชน์ ตลอดจนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างรอบคลุม โดยภายหลังจากการดำเนินการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ ควรมีการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทุกภาคส่วน ตลอดจนควรให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์แผนพัฒนาท้องถิ่นให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง

Article Details

How to Cite
รัตนสุวรรณ ณ., อิมิวัตร์ ป., & แก้วศรี ภ. (2025). การพัฒนากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 1–24. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/POPACRRU/article/view/1169
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2566). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

จักรพันธ์ ลิ่มมังกูร. (2561). แนวทางการพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เทศบาลเมืองลำพูน กองวิชาการและแผนงาน. (2566). คู่มือการปฏิบัติงานการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. สืบค้นจาก www.lamphuncity.go.th

ธีรนัย โจนลายดา. (2565). กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมพ์สวรรค์ เสียงเจริญ และวีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2563). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาลินี อำพรเวช. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมโชค คงแป้น. (2556). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

แสงเดือน แก้วสัมพันธ์, กฤษณ์ ภูรีพงศ์ และพริมฎา สุขคำภา. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. รายงานการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 8 (CRCI 2022) (น. 235-245). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.