การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ยุภา รุ่งทวีพิทยากุล
ประยูร อิมิวัตร์
ทับทิม สุขพิน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนหมู่บ้านผาหมี 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนหมู่บ้านผาหมี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการธุรกิจ และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 276 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 40 - 49 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน 11 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่ามีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน และระดับน้อย 1 ด้าน โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ตามลำดับ โดยมีผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันส่งผลให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ และประเภทของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่แตกต่างกัน มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
รุ่งทวีพิทยากุล ย., อิมิวัตร์ ป., & สุขพิน ท. (2024). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 37–60. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/POPACRRU/article/view/1107
บท
บทความวิจัย

References

กุลจิรา เสาวลักษณ์จินดา. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. สารนิพนธ์บริหารธรุกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบานลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 85-97.

ชัญญานุช ยุทธวรวิทย์. (2565). การศึกษาโมเดลการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชานนท์ นัยนา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบางกะเจ้า. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฎฐณิชา หมื่นหนู. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลทะเลน้อยและเทศบาลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ณัฐวุฒิ รัพยูร และปรารถนา หลีกภัย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูล. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 13(1), 67-83.

ธนวดี สุขขี. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยธิดา ปาลรังสี และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 17(2), 99-110.

พรทิพย์ จุ้ยรอด. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณตลาดน้ำโบราณบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 31(1), 93-114.

รุ่งนภา อินภูวา และนันทวรรณ นวลักษณ์. (2562). บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 22(2), 73-83.

ลีนวัตร วาลีประโคน. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

วิภาดา มุกดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences (JMSS), 10(3), 55-74.

สมศักดิ์ แก้วนุช. (2567). บ้านผาหมี. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567, จาก https://wikicom munity.sac.or.th/community/38

สุจิตรา ยางนอก, ลัญจกร นิลกาญจน์, ปัญญา เลิศไกร. (2566). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยสังคมสาร, 21(2), 279-300.

สุพิชญา บุญคำ และวิจิตรา ศรีสอน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรายภัฏเลย, 12(40), 75-84.

สุวัช วาณิชย์วิรุฬห์ (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนแม่บท เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. จันทรเกษมสาร, 25(1), 31-44.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Development Committee Center for International Studies. New York: Cornell University.

Lo, Y. C., & Janta, P. (2020). Resident's perspective on developing community-based tourism - a qualitative study of Muen Ngoen Kong community, Chiang Mai, Thailand. Frontiers in Psychology, 11, 1 – 14.