รากฐานทางสังคมของระบบกฎหมาย: เส้นทางจากประเพณีสู่กฎหมาย

Main Article Content

Utis Tahom

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ได้อธิบายให้เห็นวิวัฒนาการของระบบกฎหมายจากประเพณีดั้งเดิมสู่การประมวลกฎหมายสมัยใหม่ โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและกฎหมายในหลายมิติ  ปรัชญาของกฎหมายแบ่งออกเป็นสี่สำนักคิดหลัก ได้แก่ สำนักกฎหมายธรรมชาติ มุ่งเน้นความเชื่อว่ากฎหมายมีที่มาจากธรรมชาติและศีลธรรม โดยมนุษย์มีสิทธิและความยุติธรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การประยุกต์ใช้สำนักนี้ช่วยส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรม  สำนักกฎหมายบ้านเมืองถือว่ากฎหมายเป็นผลผลิตจากมนุษย์ โดยไม่เชื่อมโยงกับธรรมชาติหรือสร้างความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม  สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์เน้นการศึกษาวิวัฒนาการและบทบาทของประวัติศาสตร์ในการกำหนดระบบกฎหมาย การนำหลักการจากอดีตมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันอย่างเป็นธรรม  และสำนักกฎหมายสังคมวิทยามุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับสังคม กฎหมายถูกมองว่าเป็นผลผลิตจากพลังทางสังคมและเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคม การประยุกต์ใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมาย ดังนั้นการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ปรัชญากฎหมายต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงบริบททางสังคม และสามารถช่วยเสริมสร้างความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมายจึงไม่เพียงแต่เป็นกฎที่บังคับใช้ แต่ยังเป็นเครื่องมือให้กับประชาชนในยุคปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
Tahom, U. (2024). รากฐานทางสังคมของระบบกฎหมาย: เส้นทางจากประเพณีสู่กฎหมาย. พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 1–24. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/700
บท
Articles