พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU <p>วารสารพัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีนโยบายการรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความครอบคลุมสาขาวิชาหลัก คือ Social Sciences อยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา คือ 1) Social Sciences 2) Arts and Humanities และ 3) Cultural Studies และอยู่ใน 4 กลุ่มย่อย คือ 1) Social Development 2) Sociology and Political Sciences 3) Cultural Studies, 4) General Social Sciences มุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสังคม ผ่านการนำเสนอองค์ความรู้ทางทฤษฎี ผลการวิจัย และการประยุกต์ใช้ความรู้สหศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมอีสาน และภูมิภาคอื่นในมิติวัฒนธรรม การเมือง การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ การจัดภาคีเครือข่ายสาธารณะ และการจัดการภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดมรรคผลเชิงประจักษ์สามารถนำองค์ความรู้ทางวิชาการไปต่อยอดพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการพัฒนาสังคม สามารถนำไปประยุกต์และปฏิบัติจริง เปิดรับบทความทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประเภทบทความวิจัยและบทความวิชาการ จากนักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผลงานที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น</p> th-TH chariyaporn.pt@bru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จริยาภรณ์ ปิตาทะสังข์) jatuporn.ds@bru.ac.th (อาจารย์ ดร.จตุพร ดอนโสม) Sat, 28 Dec 2024 19:01:44 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รากฐานทางสังคมของระบบกฎหมาย: เส้นทางจากประเพณีสู่กฎหมาย https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/700 <p>บทความวิชาการนี้ได้อธิบายให้เห็นวิวัฒนาการของระบบกฎหมายจากประเพณีดั้งเดิมสู่การประมวลกฎหมายสมัยใหม่ โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและกฎหมายในหลายมิติ ปรัชญาของกฎหมายแบ่งออกเป็นสี่สำนักคิดหลัก ได้แก่ สำนักกฎหมายธรรมชาติ มุ่งเน้นความเชื่อว่ากฎหมายมีที่มาจากธรรมชาติและศีลธรรม โดยมนุษย์มีสิทธิและความยุติธรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การประยุกต์ใช้สำนักนี้ช่วยส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรม สำนักกฎหมายบ้านเมืองถือว่ากฎหมายเป็นผลผลิตจากมนุษย์ โดยไม่เชื่อมโยงกับธรรมชาติหรือสร้างความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์เน้นการศึกษาวิวัฒนาการและบทบาทของประวัติศาสตร์ในการกำหนดระบบกฎหมาย การนำหลักการจากอดีตมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันอย่างเป็นธรรม และสำนักกฎหมายสังคมวิทยามุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับสังคม กฎหมายถูกมองว่าเป็นผลผลิตจากพลังทางสังคมและเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคม การประยุกต์ใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมาย ดังนั้นการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ปรัชญากฎหมายต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงบริบททางสังคม และสามารถช่วยเสริมสร้างความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมายจึงไม่เพียงแต่เป็นกฎที่บังคับใช้ แต่ยังเป็นเครื่องมือให้กับประชาชนในยุคปัจจุบัน</p> Utis Tahom Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/700 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การครองอำนาจนำระหว่างรัฐและท้องถิ่นไทย: บทวิเคราะห์ผ่านมุมมองประชาธิปไตย 2 ระดับ ระหว่างพ.ศ. 2535-2564 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/361 <p>การวิเคราะห์ประชาธิปไตยไทยสามารถวิเคราะห์ได้อย่างน้อย 2 ระดับคือประชาธิปไตยระดับชาติและประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น นับตั้งแต่พ.ศ. 2535-2564 มีเพียงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 35 ที่ส่งผลสะเทือนต่อการเสริมสร้างประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนผ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การเติบโตของการเมืองภาคพลเมืองและการกระจายอำนาจกลายเป็นอำนาจนำของประชาชนในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาเกิดการรัฐประหารทั้งในปีพ.ศ. 2549 และ 2557 อันส่งผลต่อการลดอำนาจรวมทั้งปิดกั้นอำนาจของประชาชนในการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น และสถาปนาอำนาจนำในการจัดการของรัฐเหนือท้องถิ่น ผ่านกลไกของระบบราชการแบบรวมศูนย์อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้กลไกของส่วนภูมิภาคและส่วนท้องที่ (กำนันผู้ใหญ่บ้าน) ในการพัฒนา จนละเลยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นกลไกของประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ดูเหมือนว่าการเมืองในระดับชาติมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดความเป็นไปในการเมืองและการบริหารในระดับท้องถิ่น</p> สุนทรชัย ชอบยศ, จตุรงค์ ศรีสุธรรม, เชิงชาญ จงสมชัย Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/361 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประชาธิปไตยและกลไกทางการเมืองในประเทศกัมพูชา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/364 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับระบอบประชาธิปไตยในประเทศกัมพูชา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงเวลาสำคัญ คือ ประชาธิปไตยยุคแรก หลังจากกัมพูชาได้รับอิสรภาพจากชาติอาณานิคม (ฝรั่งเศส) ด้วยความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นให้กัมพูชาสามารถมีสิทธิ์ในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ และประชาธิปไตยยุคสองที่รวมถึงยุคปัจจุบัน ที่เป็นการขับเคลื่อนประเทศเพื่อฟื้นฟูบูรณะชาติที่ทรุดโทรมอันเป็นผลมาจากระบอบการปกครองเดิมที่ล้มเหลวให้ก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาตามแบบประชาธิปไตยภายใต้การนำของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีทุกสมัยของกัมพูชา นอกจากนี้ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงกลไกขับเคลื่อนของรัฐบาลกัมพูชาที่ดูเหมือนว่ากำลังถูกใช้ในทิศทางที่สวนกลับจากแนวคิดเสรีประชาธิปไตยเพื่อรักษาฐานอำนาจทางการเมืองของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กลไกประเภทที่ 1 การใช้แนวคิดครองอำนาจนำในการควบคุมสังคม ประกอบด้วย ภาพลักษณ์ของผู้นำ การใช้กระแสชาตินิยม การเมืองเครือญาติ กลไกประเภทที่ 2 ประกอบด้วย การใช้อิทธิพลทางการเมืองและกำลังทางทหารในการยึดกุมอำนาจการปกครอง การใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ในการหาเสียง การครอบงำหน่วยงานราชการและองค์กรอิสระ การใช้อำนาจรัฐคุกคามประชาชน และการใช้อำนาจตุลาการและกฎหมายกำจัดคู่แข่ง อย่างไรก็ตามบทความชิ้นนี้เป็นเพียงการศึกษาเพื่อสร้างคำอธิบายและทำความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในกัมพูชาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนประชาธิปไตยและการใช้กลไกทางการเมืองของรัฐบาลในการดำเนินงานเท่านั้น </p> aphimuk Sadompruek Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/364 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 กระแสตอบรับของผู้รับสารต่อการสื่อสารทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2566 ของพรรคก้าวไกล https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/1155 <p>บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติของพรรคก้าวไกล กลุ่มผู้รับสารในกลุ่มเจนเนอเรชัน B X Y และ Z และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงของพรรคก้าวไกล 2) พัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและบทเรียนจากการสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกล และ 3) ศึกษากระแสตอบรับหรือทัศนคติของประชาชนผู้รับสารในแต่ละกลุ่มเจนเนอเรชันต่อการสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกล ผลจากการศึกษา พบว่า 1) พรรคก้าวไกลใช้ กลยุทธ์การสื่อสารที่เน้นการมีส่วนร่วมและการโต้ตอบกับประชาชนซึ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้สนับสนุน ในการสื่อสารนโยบายและภาพลักษณ์ผู้สมัครก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการรณรงค์หาเสียงซึ่งครอบคลุมถึงการใช้สื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ 2) พรรคสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน โดยปรับกลยุทธ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้รับสารในแต่ละกลุ่ม ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและอาจเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับพรรคการเมืองอื่นๆ ในการสื่อสารทางการเมือง และ 3) ความแตกต่างด้านทัศนคติของประชาชนผู้รับสารในแต่ละกลุ่มเจนเนอเรชันในการตอบสนองต่อการสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกล โดยกลุ่มอายุน้อยให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลและแนวคิดแบบก้าวหน้า ขณะที่กลุ่มอายุมากยังคงพึ่งพาสื่อดั้งเดิมและเน้นความมั่นคงด้านสุขภาพและด้านการเงิน</p> พิษณุ เทพทอง, วิทยาธร ท่อแก้ว, กรกช ขันธบุญ, จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/1155 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/1153 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาเกี่ยวกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน ใช้วิธีคัดเลือกโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ แล้วใช้วิธีสุ่มเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วนตามหมู่บ้านต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 ส่วนแนวทางการจัดการปัญหาเกี่ยวกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ มีความสุขกับชีวิต และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพต่อไป</p> พิยดา สีดา, จิราพร โคประโคน, รัตน์ติกาล ห่วงพิมาย, สุภาวดี เขียมรัมย์ , วิษณุ ปัญญายงค์, สถาพร วิชัยรัมย์ Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/1153 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 หลักการใช้เขตอำนาจรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/981 <p>เขตอำนาจของรัฐหรือดุลอาณาเขต เป็นสิ่งที่ทุกรัฐต้องมีตามหลักอำนาจอธิปไตยของรัฐเป็นอำนาจของรัฐภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐใช้ปกครองประชาชนและทรัพย์สิน ทำให้รัฐมีอำนาจเหนือดินแดนของตนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านนิติบัญญัติ คือ การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ใช้ภายในดินแดนรัฐของตน ทั้งยังมีอำนาจตุลาการในการควบคุมตรวจสอบในการปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้น แต่การเป็นรัฐก็ต้องมีสังคมระหว่างประเทศ มีการติดต่อทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองกับรัฐอื่นเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงมีดุลอำนาจรัฐระหว่างประเทศว่ามีขอบเขตมากเพียงใด และรัฐสามารถใช้อำนาจกับรัฐอื่นได้หรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องดุลอาณาเขตและขอบเขตอำนาจของรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้</p> ชลิดา ศรีอำคา, เกตมณี สีเหลือง, พลอยฟ้า ช้างชัย Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/981 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700