เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

การเตรียมต้นฉบับ

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร .doc ของ Microsoft Word หรือเทียบเท่า หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์รูปภาพ ในสกุล .pdf .jpg .gif หรือ .bmp ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 16 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) ต้นฉบับบทความควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

  1. ชื่อบทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. บทคัดย่อ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  3. คำสำคัญ จำนวน 3 – 5 คำ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. เนื้อหา เป็น ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 หรือขนาดเทียบเท่า และให้มีหัวข้อได้ไม่เกิน 3 ลำดับ ได้แก่ ลำดับแรก เช่น บทนำ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา ลำดับที่สองใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา และลำดับที่สามใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวเอียง
  5. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
  6. การอ้างอิง รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) การเขียนการอ้างอิงให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันทั้งหมด สำหรับการอ้างอิงเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ไม่มีชื่อภาษาอังกฤษ ให้ถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันโดยวิธีการถอดอักษรแบบถ่ายเสียง (transcription) ตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน
  7. ภาพ ตาราง และสมการ ส่วน ของต้นฉบับที่เป็นรูปภาพ แผนภาพ และตาราง ให้มีขนาดไม่เกิน 140 x 210 มม. รูปแบบ gray-scale มีระดับความเข้มที่เหมาะสม ตัวอักษรในภาพและตารางให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 12 ทุกภาพ ตารางและสมการจะต้องมีชื่อกำกับ ได้แก่ “ภาพที่ 1: ตรงกลางด้านล่างของภาพ”, “ตารางที่ 1: ชิดขอบซ้ายด้านบนของตาราง” และ “(1)” ชิดขอบขวาในบรรทัดเดียวกับสมการ รวมทั้งแหล่งที่มา (ถ้ามี) ด้านล่างของภาพหรือตาราง และให้ระบุตำแหน่งอ้างอิงในบทความ เช่น <ภาพที่ 1>, <ตารางที่ 1> หรือ <สมการที่ 1>

 การจัดรูปแบบอื่น ๆ

          ลำดับ ตัวเลขที่เป็นหัวข้อให้ใช้ตัวเลขตามด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 1. และ 2. ลำดับตัวเลขภายในข้อความ ให้ใช้ตัวเลขตามด้วยเครื่องหมายวงเล็บ เช่น 1) และ 2) เครื่องหมายแสดงข้อย่อย ให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งบทความการ เยื้องย่อหน้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งบทความ กล่าวคือ ให้เยื้องลำดับละ 10 มม. ทั้งนี้ให้หมายรวมถึงการเยื้องหลังเครื่องหมายหรือตัวเลขแสดงหัวข้อ

การเตรียมต้นฉบับ

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร .doc ของ Microsoft Word หรือเทียบเท่า ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 16 หน้า โดยใช้ขนาดกระดาษ B5 (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) ต้นฉบับบทความควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

  1. ชื่อบทความ

                   ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ตัวอักษรหนาขนาด 24) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

  1. ชื่อ นามสกุลผู้เขียน/ผู้วิจัย

                   - ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ตัวอักษรขนาด 16 จัดชิดขวาสุด

                   - หากมี 2 คน หรือมากกว่า ให้พิมพ์ชื่อและแสดงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็กแบบตัวยก (Superscript) และเว้นวรรค 1 ครั้ง เช่น “คนที่ 1a คนที่ 2b คนที่ 3c”

                   - ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน และ E-mail ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ตัวอักษรขนาด 12 นำไปไว้ข้างล่างกระดาษ (ทำเหมือน Footnote)

  1. บทคัดย่อ

                   ให้มีทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ

  1. คำสำคัญ

                   จำนวน 3 - 5 คำ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรปกติ TH Sarabun PSK ขนาด 16 ส่วนที่เป็นชื่อหัวข้อ “คำสำคัญ” “Keywords” ให้ใช้ตัวอักษรหนา

  1. เนื้อความ

                   เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 และให้มีหัวข้อได้ไม่เกิน 3 ลำดับ ได้แก่ ลำดับแรก เช่น บทนำ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ลำดับที่สองใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา และลำดับที่สามใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวเอียง และควรประกอบไปด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้

                   5.1 บทความวิจัย ประกอบด้วย

                             1) บทนำ 2) ทบทวนวรรณกรรม 3) วิธีการวิจัย 4) ผลการวิจัยและการอภิปรายผล 5) สรุปและเสนอแนะ 6) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) 7) เอกสารอ้างอิง (เป็นภาษาอังกฤษทั้งภายในเนื้อความและท้ายบทความ)

                   5.2 บทความวิชาการ

                             ให้เป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานการเขียนงานทางวิชาการภาพ ตาราง และสมการการแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ให้ใช้ได้ตามความเหมาะสม กรณีเป็นตารางให้ชื่อตารางอยู่ด้านบน กรณีที่เป็นรูปภาพหรือแผนภูมิ ให้ระบุชื่อรูปภาพหรือแผนภูมิอยู่ด้านล่าง

  1. การเขียนอ้างอิง
  2. รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มให้ใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) 7     

หนังสือ

ชื่อ นามสกุล.  (ปีที่พิมพ์).  ชื่อเรื่อง.  ครั้งที่พิมพ์.  สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์

ชื่อ นามสกุล.  (ปีที่พิมพ์).  ชื่อเรื่อง.  ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ ชื่อย่อของปริญญา (ชื่อสาขาปริญญา).  สถานที่พิมพ์ : หน่วยงานที่พิมพ์.

รายงานการวิจัย รายงานทางวิชาการ และรายงานประจำปี

ชื่อ นามสกุล.  (ปีที่พิมพ์).  ชื่อรายงานการวิจัย.  ครั้งที่พิมพ์.  สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

วารสารภาษาไทย

ชื่อ นามสกุลของผู้เขียนบทความ.  (ปี, วัน เดือน). “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร.  ปีที่(ฉบับที่), หน้าที่อ้างอิง.

สารสนเทศจากเว็บไซต์ของบุคคลที่ไม่ระบุแหล่งหรือหน่วยงานที่สังกัด (ไทย)

ผู้แต่ง.  (ปีที่พิมพ์).  “ชื่อเรื่อง”.  สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปีที่ค้น,  จาก  URL(แหล่งเว็บไซต์).