พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU <p>วารสารพัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีนโยบายการรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความครอบคลุมสาขาวิชาหลัก คือ Social Sciences อยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา คือ 1) Social Sciences 2) Arts and Humanities และ 3) Cultural Studies และอยู่ใน 4 กลุ่มย่อย คือ 1) Social Development 2) Sociology and Political Sciences 3) Cultural Studies, 4) General Social Sciences มุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสังคม ผ่านการนำเสนอองค์ความรู้ทางทฤษฎี ผลการวิจัย และการประยุกต์ใช้ความรู้สหศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมอีสาน และภูมิภาคอื่นในมิติวัฒนธรรม การเมือง การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ การจัดภาคีเครือข่ายสาธารณะ และการจัดการภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดมรรคผลเชิงประจักษ์สามารถนำองค์ความรู้ทางวิชาการไปต่อยอดพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการพัฒนาสังคม สามารถนำไปประยุกต์และปฏิบัติจริง เปิดรับบทความทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประเภทบทความวิจัยและบทความวิชาการ จากนักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผลงานที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น</p> Faculty of Humanities and Social Sciences, Buriram Rajaphat University th-TH พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3057-0506 การปกครองท้องถิ่นอีสานในรัฐสยาม (2322-2435) : นัยยะต่อสิทธิในการปกครองตนเองของท้องถิ่น https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/362 <p>บทความวิชาการนี้อธิบายระบบการปกครองท้องถิ่นอีสานก่อนการปฏิรูป (2322-2435) มีลักษณะอย่างไร และระบบการปกครองดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายในแง่มุมทางทฤษฎีหรือแนวคิดทางการเมืองในสังคมการเมืองไทยร่วมสมัยได้หรือไม่อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ระบบการปกครองอีสานก่อนการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีสองระบบใหญ่ด้วยกัน คือ ระบบอาญาสี่อันมีต้นแบบจากการปกครองของลาวล้านช้าง และระบบที่สองคือระบบการปกครองที่สอดคล้องกับการปกครองแบบสยาม ทั้งนี้แนวคิดที่สามารถนำมาอธิบายในแง่มุมทางทฤษฎีการเมืองหรือนำมาอธิบายสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย ได้แก่ แนวคิดว่าด้วยการปกครองตนเองของท้องถิ่น แนวคิดว่าด้วยอำนาจอิสระในการปกครองท้องถิ่น แนวคิดว่าด้วยการตัดสินใจด้วยตนเอง แนวคิดว่าด้วยการกระจายอำนาจ แนวคิดว่าด้วย รัฐ ชาติ และอำนาจอธิปไตย และการก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่หลากหลายรูปแบบในระดับท้องถิ่น</p> Sunthonchai Chopyot Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2024-06-30 2024-06-30 1 1 1 25 เผด็จการ รัฐประหาร ความรุนแรง ความล้มเหลวในการส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตยในเมียนมา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/363 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ความล้มเหลวในการขับเคลื่อนแนวคิดประชาธิปไตยของสหภาพเมียนมา อันเนื่องมาจากกลไกภายในของรัฐถูกควบคุมโดยระบอบเผด็จทารทหารและลัทธิอำนาจนิยมที่มีจำนวนมากในรัฐสภา ซึ่งเป็นมรดกสืบทอดมาจากประวัติศาสตร์การปกครองในอดีตที่มีการใช้รูปแบบอำนาจเผด็จการทหารยาวนานกว่า 48 ปี ทำให้ประชาธิปไตยไม่สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมได้ และสังคมไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมการปกครองใหม่ให้สมบูรณ์แบบได้เช่นกัน มิหนำซ้ำยังส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากยิ่งขึ้น มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับพลเมือง จนนำไปสู่การถูกจัดอันดับคะแนนอยู่ในกลุ่มรัฐล้มเหลว การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของต่างชาติ การถูกลดระดับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า การระงับสิทธิประโยชน์ทางการค้า นักลงทุนต่างชาติไม่กล้าเสี่ยงที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศ ประชาชนในชาติไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของรัฐ และรัฐก็ไม่สามารถควบคุมประชาชนให้อยู่ตามกรอบกฎหมายตามที่ต้องการได้ รัฐไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรในรัฐขนาดเล็กได้ และยังจะถูกประชาคมโลกประณามว่าเป็นรัฐบาลที่โหดร้ายเข่นฆ่าพลเมืองตนเองเพราะเพียงมีความเห็นต่างทางอุดมการณ์ทางการเมือง ท้ายที่สุดคือรัฐบาลไม่สามารถสร้างความชอบธรรมในการบริหารประเทศได้และไร้การยอมรับจากประชาชนในชาติอย่างสิ้นเชิง</p> aphimuk Sadompruek Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2024-06-30 2024-06-30 1 1 26 48 เส้นทางการค้าขาย "ตลาด 5 นาที" สู่เศรษฐกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/296 <p>บทความวิจัยเส้นทางการค้าขายตลาด 5 นาทีสู่เศรษฐกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์นี้ เป็นผลจากการสร้างทางรถไฟของกรมรถไฟหลวงสู่จังหวัดบุรีรัมย์และเปิดใช้ปี พ.ศ.2468 ทำให้เกิดพัฒนาการสู่เศรษฐกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ในช่วงเวลาที่ขบวนรถไฟเที่ยวล่อง ในช่วงเวลายุคใหม่กลุ่มผู้ค้าหาบเร่สถานีรถไฟบ้านแสลงพันรวมตัวกันนำสินค้าท้องถิ่นมาขายตั้งแต่เวลา 06.00-07.00 น. แล้วนำสินค้าที่เตรียมไว้มาขึ้นรถไฟไปขายยังหลังสถานีรถไฟบุรีรัมย์ ร่วมกลุ่มกับผู้ค้าหาบเร่มาจากสถานีรถไฟกระสัง โดยการจัดพื้นที่ขายสินค้าของสถานีรถไฟบุรีรัมย์ให้เวลาวางขายไม่เกิน 08.30 น. เจ้าหน้าที่สถานีจะเป่านกหวีดแล้วพากันหาบเร่ไปขายตามเส้นทางตนเองเคยเดินขายตามถนนในแต่ละวัน ซึ่งความสัมพันธ์เส้นทางการค้าตลาด 5 นาที่กับชุมชน บ้างผลิตสินค้าท้องถิ่นมาขายเอง บ้างรับสินค้าจากท้องถิ่นเข้ามาขาย ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกขายสินค้าการเกษตรราคาดี เป็นขบวนการพึ่งพาระบบเศรษฐกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์เองโดยขบวนรถไฟ</p> Tongchai Sisophon Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2024-06-30 2024-06-30 1 1 49 68 การพึ่งพาตนเองตามหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุไทย https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/365 <p>อนาคตประชากรไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เมื่อบริบทของสังคมไทยเปลี่ยนไปประชากรวัยแรงงานลดลงและย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองมากขึ้นเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ จึงส่งผลกระทบต่อรูปแบบลักษณะการพักอาศัยของผู้สูงอายุคือการพักอาศัยคนเดียวหรือพักอาศัยกับผู้สูงอายุที่เป็นคู่สมรสด้วยกันเอง ในช่วงวัยสูงอายุส่วนมากจะพบปัญหาทางด้านสุขภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกาย จิตใจและสังคมที่ดีเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ เช่น การเสริมสร้างพลังและความรอบรู้ทางสุขภาพ ซึ่งภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์กับความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ ภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรวางแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุทั้งในเรื่องสวัสดิการและสุขภาพอนามัยให้เหมาะสมและเพียงพอ</p> <p>บทความวิชาการฉบับนี้ จึงนำเสนอแนวทางการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทยคือการนำวิถีชีวิตของคนไทยมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ได้แก่ การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา รวมทั้งนวัตกรรมสังคมของผู้สูงอายุเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในการแก้ไขปัญหาการใช้ชีวิต การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและการดูแลสุขภาพตนเอง การมีอาชีพและรายได้ของตนเองและการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุอาจจะช่วยลดปัญหาด้านภาระของครอบครัวและสังคมได้ระดับหนึ่ง หากเมื่อสูงวัยมากขึ้นจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ดูแลเท่านั้น</p> thidsanu methawudthisakun Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2024-06-30 2024-06-30 1 1 69 93 แนวทางการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/375 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทเทศบาลตำบลบ้านเชียงและบริบทผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลบ้านเชียง การศึกษานี้ใช้วิธีวิทยาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและศึกษาภาคสนามกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการสังเกตการณ์ ระหว่างเดือนกันยายน - เดือนพฤศจิกายน 2566 ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลบ้านเชียง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอหนองหานได้ปรับเปลี่ยนฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเมื่อปี พ.ศ. 2542 และเปลี่ยนขนาดจากเทศบาลขนาดเล็กเป็นขนาดกลางในปี พ.ศ. 2555 จำนวนประชากรทั้งหมด 5,748 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาและทำปศุสัตว์</p> <p> ผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลบ้านเชียงมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพศชายและเพศหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุ 60 – 69 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประเภทของผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุติดสังคม ผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้สุงอายุติดเตียง โดยกลุ่มติดสังคมมีจำนวนมากที่สุด กลุ่มติดบ้านมีจำนวนที่น้อยลงมา และกลุ่มติดเตียงมีจำนวนน้อยที่สุด แนวทางการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ คือการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริการ กำหนดแผนพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านเชียงให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วม เนื่องจากการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของหลายหน่วยงาน แต่เทศบาลตำบลบ้านเชียงซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ควรจะมีบทบาทมากที่สุดเพราะอยู่ใกล้ชิดประชาชนและมีอำนาจตามพระราชบัญญัติที่ครอบคลุมทั้ง 8 ด้านขององค์การอนามัยโลก</p> Anchana Kaetakham Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2024-06-30 2024-06-30 1 1 94 122 การสร้างตัวตนของกลุ่มเพศทางเลือกบนพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางสังคมออนไลน์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/456 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาการสร้างตัวตนของกลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQ+) ผ่านพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สังคมออนไลน์ ศึกษาทัศนคติและวาทกรรมในการสร้างตัวตนของเพศทางเลือก (LGBTQ+) ผ่านพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQ+) มาจำนวน 15 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ด้านเนื้อหา การสืบค้นจากเอกสาร สืบค้นจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเพศทางเลือก (LGBTQ+) และพื้นที่ทางสังคมทั้งพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สังคมออนไลน์ การสัมภาษณ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า การสร้างตัวตนของกลุ่มเพศทางเลือกนั้นมีการสร้างตัวตนผ่านพื้นที่ทั้งสองแบบได้แก่ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สังคมออนไลน์ โดยพื้นที่สาธารณะนั้นการสร้างตัวตนของกลุ่มเพศทางเลือกมี 3 ด้าน คือ 1) ด้านครอบครัว 2) ด้านสังคม และ 3) ด้านความคิดความสามารถ ส่วนพื้นที่สังคมออนไลน์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สร้างตัวตนเปิดเผยทั้งในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สังคมออนไลน์ และกลุ่มที่สร้างตัวตนยังไม่เปิดเผยในทางใดทางหนึ่ง ทำให้เห็นว่าการสร้างตัวตนของกลุ่มเพศทางเลือกเองเกิดมาจากสภาพของสังคม ครอบครัว ความคิด ทัศนคติ ที่ส่งผลถึงการแสดงออกตัวตนทั้งในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สังคมออนไลน์ของกลุ่มเพศทางเลือกในสังคมไทย</p> Ratchanon Sripiachai Uthumporn Lordko Copyright (c) 2024 พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2024-06-30 2024-06-30 1 1 123 138