การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ ผ่านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น: กรณีหมอลำสินไซ

Main Article Content

Sunthonchai Chopyot

บทคัดย่อ

การพัฒนาเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุมีความสำคัญที่ต้องเห็นคุณค่าในตัวผู้สูงอายุ ผ่านการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสื่อสาร เพื่อสร้างความร่วมมือให้เกิดการพัฒนากิจกรรมผู้สูงอายุโดยการใช้วัฒนธรรมเป็นฐาน บทความนี้สะท้อนภาพปัญหาในการอนุรักษ์หมอลำสินไซและกิจกรรมของผู้สูงอายุและการใช้กระบวนการสื่อสารผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผ่านเครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ทั้งการสื่อสารเพื่อการพัฒนาก่อให้เกิดการรื้อฟื้นและสร้างการรับรู้คุณค่าของหมอลำสินไซในพื้นที่ เกิดกลไกการทำกิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์หมอลำสินไซอย่างต่อเนื่อง การสร้างมูลค่าให้กับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหมอลำสินไซ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนหรืออุทยานการเรียนรู้สินไซ การทดลองปฏิบัติชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การประยุกต์สินไซผ่านสื่อการสอน (สมุดวาดภาพระบายสีสินไซและการประยุกต์ผ่านเกม) ทั้งนี้มีผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ ผลกระทบทางนโยบายผ่านการขยายผลทางวัฒนธรรมของหน่วยทางนโยบาย ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมผ่านการรวมกลุ่มและการพัฒนากลไกกลุ่มอนุรักษ์ฯ ผลกระทบทางวิชาการ เกิดการเรียนรู้การวิจัยรับใช้สังคมและก่อให้เกิดการสื่อสารทางวิชาการ และการเปิดพื้นที่การเรียนรู้หมอลำสินไซผ่านการสื่อสารสาธารณะในหลายระดับ

Article Details

How to Cite
Chopyot, S. (2025). การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ ผ่านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น: กรณีหมอลำสินไซ. พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2(1), 34–57. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/1371
บท
Articles