การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแก้งคร้อวิทยาพุทธศักราช 2561 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP MODEL)

Main Article Content

ผกาสิริ ไชยคำภา
พีรพล ลุนจันทา
ภานุมาส จันทร์สำราญ
สิริมา บุญเกื้อ
Hanya Zhang
สิทธิพล อาจอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา พุทธศักราช 2561 โดยใช้รูปแบบซิปป์ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท, ด้านปัจจัยนำเข้า, ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหาร, ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, และนักเรียน รวม 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.06 หลักสูตรสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และบริบทของโรงเรียน มีการจัดทำหลักสูตรอย่างเป็นระบบตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.97 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.12 ครูและบุคลากรมีความรู้ความสามารถตรงตามสาขาวิชา มีการจัดสรรงบประมาณเพียงพอและมีแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย 3) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.92 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 ครูมีการจัดการเรียนรู้และการวัดผลที่หลากหลาย มีการติดตามผลการเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านผลผลิต ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีผลการประเมินร้อยละ 81.81, ผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินระดับโรงเรียนเฉลี่ย 58.36 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการประเมินระดับโรงเรียนเฉลี่ย 47.66, การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ มีผลการประเมินร้อยละ 100, และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีผลการประเมินร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
ไชยคำภา ผ., ลุนจันทา พ., จันทร์สำราญ ภ., บุญเกื้อ ส., Zhang, H., & อาจอินทร์ ส. (2025). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแก้งคร้อวิทยาพุทธศักราช 2561 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP MODEL). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 4(1), e1217. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/EJ-NSTRU/article/view/1217
บท
บทความวิจัย

References

Kaengkhro Witthaya School. (2018). Thai Language Learning Group Curriculum at Kaengkhro Witthaya School. Chaiyaphum.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Noinuay, P., Rattanapanya, S., & Diskum, S. (2023). An Evaluation of the School Based Curriculum of Suankularb Wittayalai Thonburi Using the CIPP Model. Academic MCU Buriram Journal, 8(2), 1–13. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/262409 (in Thai)

Noimai, I. (2019). AN EVALUATION OF PIBOONBUMPEN DEMONSTRATION SCHOOL, BURAPHA UNIVERSITY CURRICULUM: ENGLISH AND MATHEMATICS PROGRAM. Journal of Education and Innovation, 23(3), 382–394. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/160653 (in Thai)

Ministry of Education. (2009). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: Cooperative Assembly of Thai Agricultural Publishing Limited.

Sae-Lee, S. (2015). Evaluation of the Teacher Returning to Students Project Using the CIPP Model in Primary Educational Service Area Office, Kanchanaburi Area 3 (Master’s thesis). Kanchanaburi: Kanchanaburi Rajabhat University. (in Thai)

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Tomjan, B., & Srijumnong, J. (2018). An Evaluation of the School-Based Curriculum in Career and Technology of Banhouyboseun School under Loei Primary Educational Service Area Office 1. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 7(2), 59–68. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/153270 (in Thai)