การพัฒนาศักยภาพตนเองด้านการเต้นในฐานะนักเต้นร่วมสมัย ตามทฤษฎีพหุปัญญา กรณีศึกษา: การแสดงชุด “Whisper II”

Main Article Content

ธีรภาพย์ บุญคง
ภัชภรชา แก้วพลอย

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพตนเองด้านการเต้นในฐานะนักเต้นร่วมสมัยตามทฤษฎีพหุปัญญา กรณีศึกษา:การแสดงชุด “Whisper II” ใช้วิธีการวิจัยแบบฝึกปฏิบัติ (Practice as Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาข้อบกพร่องด้านการเต้นและพัฒนาศักยภาพของตนเองในฐานะนักเต้นร่วมสมัยผ่านการฝึกฝนการแสดงชุด “Whisper II” ร่วมกับวิสาขา แซ่อุ้ย คณะ MUPA Dance Troupe Company โดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และช่องทางออนไลน์ สัมภาษณ์ ลงมือปฏิบัติและจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลผ่านทฤษฎีพหุปัญญาใน 3 ด้าน ได้แก่ ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านดนตรี และปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง มีระยะเวลาทั้งสิ้นจำนวน 2 ภาคเรียน


ผลการวิจัยพบว่ามีข้อบกพร่อง 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวด้านการเต้นร่วมสมัยและพัฒนาศักยภาพของตนเองโดยการฝึกซ้อมผ่านการสร้างความเข้าใจในทฤษฎีองค์ประกอบทางนาฏศิลป์ 2) ปัญญาด้านดนตรี คือการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สอดคล้องกับจังหวะหรือทำนองดนตรี พัฒนาและแก้ไขโดยวิธีการฝึกฟังและจับโครงสร้างของเพลงที่มีทำนอง จังหวะ และดนตรีที่ไม่มีจังหวะ และ 3) ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง ผู้วิจัยตระหนักรู้ว่าสมรรถนะทางร่างกายของผู้วิจัยนั้นมีข้อจำกัดบางประการที่อาจไม่เหมาะสมต่อการแสดงร่วมสมัยชุด “Whisper II” จึงต้องพัฒนาเพิ่มเติมในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวของกระดูกสันหลัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Eakwattanapun, J. (2019). Taking lessons “Theppranom”, the master theory of Pichet Klunchun as a theaching method. In Dumrung, P. (Ed.) Phenomenal in Performing Arts. (pp.127-132), Nonthaburi: Parp-Pim Ltd. (in Thai)

Gonzale, J. (2015). Dance education: A Pedagogy for Empowerment. Music and Performing Arts Journals, 1(2), 57-80. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/243778/165392.

Janthon, T. (2021). The development of the Dance Skill of Dancer in the Contemporary Performance “T” follows the Multiple Intelligences Theory. (Bachelor of Performing Arts Thesis Burapha University). Chonburi: Burapha University. (in Thai)

Kaewploy, P. (2018). Dance Composition. Teaching Publication. Faculty of Music and Performing Arts, Burapha University. (in Thai)

Kershaw, B. (2018). Practice as Research through Performance. In Smith, H & Roger, T. (Ed.), Practice-led-Research, Research -led- Practice in the Creative Arts. (pp.104-125) Edinburgh: Edinburgh University Press. Retrieved from https://bpb-us-w2.wpmucdn.com/blog.nus.edu.sg/dist/d/3920/files/2018/02/Practice-as-Research-Through-Performance-2m4yehb.pdf

Media Learning of Public Administration. (2015, 9 September). Theory of Self-Development. Blogger. https://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_95.html (in Thai)

Off Centre Dance Co. (2015, 17 August). 5 traits that make a great dancer. Off Centre Dance Co. https://offcentredanceco.com.au/blog/5-traits-that-make-a-great-dancer

Office of the Secretariat of the Education Council. (1999). Integrated learning management towards multiple intelligences, pp.4-7. The Agricultural Co-Operative Federation Of Thailand, LTD. (ACFT). Retrieved from http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h234917v8.pdf. (in Thai)

Thiamtad, U. (2023). Multiple intelligences. Educational and Psychological Test Bureau Srinakarinwirote University. Journal of Educational Measurement, 30(87), 8-19, Retrieved from https://opac01.rbru.ac.th/multim/journal/00972.pdf (in Thai)