การประเมินโครงการค่ายภาษาอังกฤษ English Camp โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการประเมินโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การประเมินโครงการค่ายภาษาอังกฤษ English Camp โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model กลุ่มตัวอย่างที่ใชในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครู จำนวน 14 คน และนักเรียน จำนวน 186 คน รวมทั้งสิ้น 205 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการในแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบริบท (Context) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) อยู่ในระดับมาก และ ด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ด้านบริบท (Context) พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มีผลการประเมินสูงสุด ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน มีผลการประเมินสูงสุด ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ประเด็นมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินงานโครงการ มีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการ อย่างชัดเจนและ เหมาะสม รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม และ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง มีผลการประเมินสูงสุด และด้านผลผลิต (Product) พบว่า การฝึกอบรมตรงตามตารางที่กำหนดไว้ มีผลการประเมินสูงสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
ฉันทนา สนานคุณ (2559) ที่ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดสระแก้ว (รุ่งโรจน์ธนกุลอุปถัมภ์) จังหวัดอ่างทอง. สารนิพนธ์ ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณิรชา กลิ่นสอน และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมใน การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, 3(2), 13-29.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). การประเมินโครงการ : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
ไพฑูรย์ จารุสาร. (2561). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ OBECQA โรงเรียนนวมินทรราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.
ฟารีดา กิตติวิโรจน์ และคณะ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการบริการวิชาการค่ายภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร, 5 (พิเศษ), 15-26.
มณเฑียร ชัยประเสริฐ. (2559). ผลการจัดค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยรูปแบบ B SLIM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศรัญญา เมืองพูล และคณะ. (2564). ผลการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษตามแนว Active Learning โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 139-150.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำราญ มีแจ้ง. (2558). การประเมินโครงการทางการศึกษา : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.
Stufflebeam, D. L. & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.