ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้นตอน ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจำแนกพืชดอก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ”

Main Article Content

สุวลักษณ์ เกิดมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้นตอน ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจำแนกพืชดอก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ”มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้นตอน คะแนนการพัฒนาร้อยละ 65 ขึ้นไป 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจำแนกพืชดอก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้นตอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนกพืชดอก โดยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้นตอน  2) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้งานวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้าทางการเรียน


ผลการวิจัย พบว่า 1) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนมีคะแนนการพัฒนาร้อยละ 65.19 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจำแนกพืชดอก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเป็นร้อยละ 29.13  โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 80.13 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้นตอน  เรื่อง การจำแนกพืชดอกมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.58 , S.D. = 0.47)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.

กมลวรรณ ทับโต. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบความรู้ 7E เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyabur. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3484

นวลอนงค์ บุญฤทธิ์พงศ์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุดทอง.

ปิยะพร พิมพิศาล. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2563/M128379/Phimphisan%20Piyaphon.pdf

พิชญเนตร เสวตโสธร. (2560). ผลพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ] DSpace Repository. http://ir.tsu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/142/Pitchayanet%2000210713.pdf

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.พิมพ์ครั้งที่ 6.

สุพัตรา ตรีศูนย์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E ร่วมกับการใช้คำถามที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองยายอินทร์ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(1), 402–414.