การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนวัดพรหมโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต4

Main Article Content

พิมพ์ชนก ศรีวิลัย
รัฐพร กลิ่นมาลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนวัดพรหมโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4 ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนิน และด้านผลผลิต ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนวัดพรหมโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามรูปแบบ CPO กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ผู้บริหารโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียนผู้ปกครอง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม  และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย (Mean) ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis)


ผลการดำเนินงานโครงการ


1. ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ พบว่า การจัดสรรทรัพยากรของโรงเรียนเอื้อต่อสุขภาพของนักเรียน งบประมาณ และบุคลากรโรงเรียนวัดพรหมโลกให้การสนับสนุนโครงการเป็นอย่างดี โดยรวมอยู่ในระดับมาก


2. กระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ พบว่า การวางแผนการดำเนินงานโครงการและปรับปรุงโครงการโดยรวม อยู่ในระดับมาก


3. ผลผลิตของโครงการ พบว่า ความสำเร็จของการดำเนินโครงการ การดำเนินโครงการตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 10 องค์ประกอบ โดยรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2548). คู่มือประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ.2548. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุริยาสาสน์.

กลุ่มวิจัยและพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ. (2547). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.

จันทิมา บุญอนันต์วงศ์ และนัชพณ ฤทธิ์คำรพ. (2563). รายงานประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสระบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(2), 43-53.

ถนอมวรรณ อยู่ขำ. (2547). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2540). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ. (2561). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนบ้านดอนแยงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 286-299.

รัตนา ดีศาลา. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดกก. http: //www.vcharkarn.com/vblog/41853.

ระวีวรรณ สุขอุดม. (2560). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 187-198.

ศรีธาตุ เพียรภูเขา, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ และสมัคร เยาวกรณ์ (2557). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2(7),143-155.

สมเกียรติ ยาโพนทัน (2561). ประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุรินทร์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ค.ม. ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุชิรา ศิวะเรื่องไชย (2561). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อรพรรณ ภัคมนตรี. (2562). ประเมินผลโครงการโรงเรียนรอบรู้ สุขภาพดีมีความสุข ด้านโภชนาการ พ.ศ. 2562. วารสารโภชนาการ, 55(2), 78-85.

Stufflebeam, D. L. (1985). Education evaluation and decision making. Illinois: F. E. Peacock.

Worthen, B. R., & Sander, J. R. (1987). Educational evaluation: Alternative approaches and practical guidelines. New York: Longman.

Stufflebeam, Daniel L, & Shinkfield, A J. (2007). Evaluation Theory, Models, & Application, San Francisco : John Wilwy.