การพัฒนากระบวนการนิเทศแบบ CPDDER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ O-NET เป็นฐาน สำหรับครูภาษาไทยในเขตตรวจราชการ กลุ่มจังหวัดภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศแบบ CPDDER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ O-NET เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูภาษาไทยและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในเขตตรวจราชการ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการนิเทศระยะที่ 2 การทดลองใช้กระบวนการนิเทศ และระยะที่ 3 การขยายผลการใช้กระบวนการนิเทศ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์การตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินกระบวนการนิเทศ 4) เอกสารชุดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ O-NET เป็นฐาน 5) แบบสอบถามความคิดเห็น 6) แบบทดสอบ 7) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ 8) แบบประเมินคุณภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ 9) แบบประเมินความพึงพอใจของครู และ 10) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการนิเทศแบบ CPDDER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ O-NETเป็นฐาน จำนวน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ตรวจสอบ (Check-C) 2) วางแผนการนิเทศ (Plan-P) 3) สร้างเครื่องมือการนิเทศ (Develop-D) 4) ปฏิบัติการนิเทศ (Do-D) 5) ประเมินผลการนิเทศ (Evaluate-E) และ 6) รายงานผลการนิเทศ (Report-R) กระบวนการนิเทศมีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดลองใช้กระบวนการนิเทศฯ พบว่า 2.1) ความรู้หลังได้รับการนิเทศสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) คุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ O-NET เป็นฐาน อยู่ในระดับดี ( = 3.11, S.D. = 0.18) 2.3) คุณภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ O-NET เป็นฐาน อยู่ในระดับดี (= 3.19, S.D. = 0.14) 2.4) ความพึงพอใจของครูต่อการใช้กระบวนการนิเทศฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.54) และ 2.5) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ O-NET เป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.16)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
ชนาธิป พรกุล. (2557). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต. (2558). หน่วยที่ 2 การเรียนรู้กับการเรียนการสอน. สัมมนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). จะต้องให้เด็กไทยเก่ง ดี มีวินัย และจะมีได้อย่างไร. พลิกโฉมเยาวชนไทยสู่ เก่ง ดี และมีวินัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2557). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่
การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุงใหม่). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศึกษาธิการภาค 6, สำนักงาน. (2560). รายงานผลการตรวจราชการ กรณีปกติ งวดที่ 1 ปีงบประมาณ 2560เขตตรวจราชการที่ 6. กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล, นครศรีธรรมราช.
สุภณิดา พัฒธร และคณะ. (2557). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
โอเจที โซลูชันส์. (2556). วิธีปั้นคนแบบโตโยต้า. (วีรวรรณ จารุโรจน์จินดา, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: วีเลิร์น.
Cicek, V. & Tok, H. (2014). Effective Use of Lesson Plans to Enhance Education in U.S. and Turkish Kindergarten thru 12th Grade Public School System: A Comparative Study. International Journal of Teaching and Education, 2(2), 10–20
Rugaiyah, R., Amelia, S., Nabilah, S. & Rahmawati, D. (2019). Teacher Supervision by Elementary Schools Supervisor through Web-Based Clinical Supervision. Proceedings of the 5th International Conference on Education and Technology (ICET 2019), 382, 642-644.
Steinmayr, R., Weidinger, AF., Schwinger, M. & Spinath, B. (2019). The Importance of Students’Motivation for Their Academic Achievement – Replicating and Extending Previous Findings. Frontiers in Psychology Journal, 10, 1730. https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2019.01730/full.