การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ เรื่องสถิติ โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วัชรากร ทองช่วย
ทรงวิทย์ ฤทธิกัณฑ์
วัยวุฒ อินทวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ เรื่องสถิติ โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสถิติ ก่อนและหลังใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์  และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2565 จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ผลการวิจัยพบว่า  1) ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.06/78.95 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสถิติ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 3) ผลความพึงพอใจหลังใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.61, σ = 0.44)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). รายงานการศึกษาระบบอุดมศึกษาไทยในบริบทของประเทศพัฒนาแล้ว ฉบับที่ 1: การผลิตและพัฒนากำลังคน ตามความต้องการของประเทศ. กรุงเทพฯ : พริ้นทเอเบิ้ล.

ขจรศักดิ์ สีเสน. (2560). การทำและการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2550). การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/200550

จินดา อุ่นทอง. (2549). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่1 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/172382

จินตวีร์ คล้ายสังข์ และประกอบ กรณีกิจ. (2553). ผลของการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์ในรูปแบบที่ต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และความพึงพอใจของผู้เรียนระดับปริญญา บัณฑิตที่มีระดับความสามารถทางการเรียนรู้ต่างกัน ในรายวิชาโปรแกรมการเรียนการสอน ผ่านเว็บขั้นนำ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ชุดการสอนในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุษรา กล่อมเย็น และ ไสว ฟักขาว. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(12), 141-151.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/214159

ประภาพร ถิ่นอ่อง. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. มหาวิทยาลัยนเรศวร. http://www.edu.nu.ac.th/researches/view_is.php?id=170

ปราณี จิณฤทธิ์. (2552). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเคหะประชาสามัคคี จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/239626

ปาริชาติ สุพรรณกลาง. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการอินทิเกรตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเรียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันวิสาข์ มณีฉาย. (2562). ผลการใช้ชุดแบบฝึกทักษะ เรื่องการบวกและการลบทศนิยม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ ๑๐ "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward" (น. 376-382). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.

สมพร ตอยยีบี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก กรุงเทพฯ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุภานันต์ ชาทอง. (2551). การศึกษาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดฝึกความคิดแบบเอกนัย [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/213280

อัมพา ปัญญาคำ. (2550). การสร้างแบบฝึกทักษะการคูณ โดยใช้การวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุบลวรรณ ปรุงวนิชพงษ์. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการอ่านให้คล่อง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนราชินี บูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาลัยศิลปากร]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/265880

อุมาพร คงเพชรกุล, มัทนียา พงศ์สุวรรณ และกฤษณี สงสวัสดิ์. (2565) การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและสัดส่วนโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กศน.อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

[การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี]. SRU Intellectual Repository. http://www.ir.sru.ac.th/handle/123456789/909

อุษณีย์ เสือจันทร์. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.http://www.edu.nu.ac.th/researches/view_is.php?id=190

Bernath, R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools.

Bonk, C. & Graham, C. (2005). Handbook of blended learning: Global perspectives, local designs. San Francisco, CA: Pfeiffer Publishing.

Carman, Jared M. (2005). Blended Learning Design: Five Key Ingredients. Retrieved 29 April 2022, from http://www.agilantlearning.com/pdf/Blended%20Learning%20Design.pdf

Driscoll, M. (2008). Blended Learning: let's get beyond the hype, E-learning. Retrieved 29 April 2022, from http://elearningmag.com/timagazine.

Harriman, Gray. (2010). What is Blended Learning?. Retrieved 29 April 2022, from http://

www.grayharriman.com/blended learning.htm