การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

Main Article Content

ชนิภา วิศาล
สมปอง รักษาธรรม
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์

บทคัดย่อ

การประเมิน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินด้านบริบท  ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่มีต่อโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งการประเมินในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP  Model) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 53 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6  จำนวน 322 คน  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย  1. การประเมินเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ประเมินด้านบริบทประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ  และประเมินด้านผลผลิต 2. การประเมินเชิงคุณภาพโดยใช้ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)


จากผลการประเมินโครงการเชิงปริมาณ พบว่า การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านบริบท  ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต จากผลการประเมินโครงการเชิงคุณภาพ พบว่า อาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนทุกคนโดยภาพรวมมีความเหมาะสม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เป็นที่พึงพอใจของโรงเรียนและนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กัญณัฎฐ์ กุลจรัสรัตน์. (2561).ความพึงพอใจของนักเรียนต่องานบริการอาหารกลางวันของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. (2559). คู่มือการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา.กรุงเทพมหานคร.

จินดาหรา พวงมาลา และสุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน. (2560). แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านบางแก้ว. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 824-837.

ณัฐยา ศรีวงศ์. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านโคกสูงอำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสเกษ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปาริชาติ ไตรหัตถทรัพย์. (2561). การศึกษาสภาพและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 7. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ไพบูลย์ มีสิน. 2558. การประเมินผลการกำกับดูแลโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน ในโรงเรียนประถมศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพฯ, 9(2), 1-14.

วรรณาภา กาโยงแว่น. (2557). การประเมินโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านเมืองคลอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39687

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปี 2558-2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.