การลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนไทยจากการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการนำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนมาใช้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนจากการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลการค้นคว้าเอกสาร พบว่า การเรียนการสอนออนไลน์ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการศึกษาของนักเรียนทั้งในระยะสั้น เช่น การสร้างความกังวล ความเครียด ความแปลกแยกโดดเดี่ยว ภาวะซึมเศร้าหรือแม้แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง และผลกระทบในระยะยาวต่อการพัฒนาทักษะของนักเรียนในช่วงต่อไปของชีวิต เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คณะเสนอรูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ร่วมกับ กลยุทธ์เพื่อลดภาวะถดถอยการเรียนรู้ คือ ใช้กระบวนการหล่อหลอมทางสังคมในครอบครัว (Family socialization) การเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active learning) การสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ของนักเรียนและผู้ปกครอง (Active citizenship) รวมถึงการร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ (Co-creation of teaching and learning) เพื่อสร้างความตระหนักด้านคุณภาพการศึกษา ควรจัดการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม ยืดหยุ่น และหลากหลาย โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม รวมถึงปฏิรูปให้มีกระบวนการเรียนที่พัฒนาคนได้เต็มตามศักยภาพของมนุษย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนา วิชาการโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง.https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
ญาศินี เกิดผลเสริฐ. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(2), 166-175.
ภูมิพัฒน์ ศรีวชิรพัฒน์. (2565). กลยุทธ์เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนไทย จากการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 9(1), 71-86.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม Co-creation Learning.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวีโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานผลการศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19. สภาพการณ์บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. http://ww.onec.go.th/th.php/book/BookView/1932
สุธาสินี บุญญาพิทักษ์, (2554). เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Betebenner, D., & Van Iwaarden, A. (2020). Issues and considerations that the COVID‐19 pandemic presents for measuring student growth [Blog post]. https://www.nciea.org/blog/sgp/issues-and
Bovill, C. (2020). Co-creation in learning and teaching: The case for a whole-class approach in higher education. Higher Education, 79(6), 1023–1037.
Bugental, D. B., & Goodnow, J. J. (1998). Socialization processes. In Handbook of child psychology: Social, emotional, and personality development, Vol. 3, 5th ed (pp. 389– 462). John Wiley & Sons, Inc.
Giannopoulou, I., Efstathiou, V., Triantafyllou, G., Korkoliakou, P., & Douzenis, A. (2021). Adding stress to the stressed: Senior high school students’ mental health amidst the COVID-19 nationwide lockdown in Greece. Psychiatry Research, 295, 113560. https://doi.org/10.1016/j.psychres.2020.113560
Hou, T., Mao, X., Dong, W., Cai, W., & Deng, G. (2020). Prevalence of and factors associated with mental health problems and suicidality among senior high school students in rural China during the COVID-19 outbreak. Asian Journal of Psychiatry, 54, 102305. https://doi.org/10.1016/j.ajp.2020.102305
Michael, J. (2006). Where’s the evidence that active learning works?. Advances in Physiology Education, 30(4), 159–167.
Middleton, K. V. (2020). The longer‐term impact of covid‐19 on k–12 student learning and assessment. Educational Measurement: Issues and Practice, 39(3), 41–44.
Plakhotnik, M. S., Volkova, N. V., Jiang, C., Yahiaoui, D., Pheiffer, G., McKay, K., Newman, S., & Reißig-Thust, S. (2021). The perceived impact of COVID-19 on student well-being and the mediating role of the university support: Evidence from France, Germany, Russia, and the UK. Frontiers in Psychology, 12, 642689. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2021.642689
Radu, M.-C., Schnakovszky, C., Herghelegiu, E., Ciubotariu, V.-A., & Cristea, I. (2020). The impact of the covid-19 pandemic on the quality of educational process: A student survey. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(21), 7770. https://doi.org/10.3390/ijerph17217770
Rao, M. E., & Rao, D. M. (2021). The mental health of high school students during the COVID-19 pandemic. Frontiers in Education, 6, 719539. https://doi.org/10.3389/feduc.2021.719539
Spitzer, M. W. H., & Musslick, S. (2021). Academic performance of K-12 students in an online- learning environment for mathematics increased during the shutdown of schools in wake of the COVID-19 pandemic. PLOS ONE, 16(8), e0255629. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0255629.