การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

สิทธิชัย เดชาสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังในการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ โดยกระบวนการชี้แนะสะท้อนคิด และ 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชี้แนะสะท้อนคิด โดยครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการนิเทศ พบว่าสภาพปัจจุบันโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนสภาพที่คาดหวังโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของร่างรูปแบบการนิเทศพบว่าร่างรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ โดยรวมพบว่ายู่ในระดับมาก 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า 3.1) ผลการประเมินความสามารถในการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2)  ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศ   4.1) ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศ พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก 4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระภา ธรรมนําศีล. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต การนิเทศการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

จิราภรณ์ สีลา. (2563). รูปแบบการนิเทศแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.การนิเทศการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ชอบกิจ กนกหงส์. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศสะท้อนผลในการสอนของครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.การนิเทศการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2556). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐพงษ์ ตุ้ยกุลนา. (2559). การพัฒนาระบบการนิเทศแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.การนิเทศการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีสอนสําหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรดิษฐ์ ม่วงอ่อง, สุขแก้ว คำสอน และเกรียงศักดิ์ สุวรรณวัจน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2), 413-427.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม:อภิชาติการพิมพ์.

พุทธพร อินทรนันท์. (2558). การนิเทศรูปแบบการนิเทศชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พะเยา: โรงเรียนบ้านจำป่าหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1.

โรงเรียนบ้านโคกมะขาม. (2563) รายงานผลการประเมินตนเองโรงเรียนบ้านโคกมะขาม ปีการศึกษา 2563, เอกสารอัดสำเนา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎีกลยุทธ์ สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วาสนา บุญมาก. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. หลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร].

สกาวรัตน์ ไกรมาก. (2555). การนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2, เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (2563). รูปแบบการนิเทศ APDSE.,เอกสารอัดสำเนา.

อำพา ประทุมชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพการสอนของครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา[วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต การนิเทศการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

Alkrdem, M. (2011). School-Based Instructional Supervision in Saudi Arabian Public Secondary Schools. Dissertation Abstracts International, 70(99), (3836–A).

Counts, G. E., Shepard, I. S., & Farmer, R. F. (1998). Evalution and supervision of teacher in Missouri school. Missouri : EDRS.

Herzberg, F. (1966). Work and the Nature of Man. Cleveland : Work Book.

Joyce, B., & Weil, M. (2009). Model of Teaching. 8th ed. Englewood Cliffs, New York :

Kruse, K. (2004). Instruction to Instructional Design and the ADDIE Model.” [online]. Available from : http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1html. [Acessed 12 April 2021].

Maslow, A. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harpers and Row.

McGregor, D. M. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw–Hill. Prentice-Hall.

Papert, S. (1999). Introduction: What is Logo? And Who Need It? In Logo Philosophy And Implementation. LCSI.

Robinson, S. G. (2000). Teacher Job Satisfaction and Leveis of Clinical Supervision In Elementary School. Dissertation Abstracts International Available [online]. Available from http://thailis.uni.net.Th/ DAO; 61-06 A [Acessed 18 April 2021]

Steiner, G. A. Individual. (1969). Behavior and Group Achievement. New York : Oxford University Press Stoner.

Wayne, B. (1980. Perception of Elementary School Principals Concerning Their Role in Supervision. Dissertation Abstracts International, 64(1), 33-A.

Will,T. & Alistair, S. (2009). Coaching Solutions: Practical Ways to Improve Performance in Schools [Acessed 18 April 2020] Online available from https://books.google.co.th/books/about/Coaching_Solutions.html?id=76qqPgAACAAJ&redir_esc=y

Yavuz, M. (2010). Effectiveness of Supervisions .Conducted by Primary Education Supervisors.